การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • พระมหาบุญไทย ปุญญมโน (ด้วงวงศ์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระสุทธิสารเมธี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บุญร่วม คำเมืองแสน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กฤตสุชิน พลเสน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ภาคกลางปริมณฑล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวการสัมภาษณ์เชิงลึก 

          ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1) สภาพของแหล่งท่องเที่ยวขาดการดูแลรักษา ขาดการฟื้นฟู ปล่อยให้เสื่อมโทรมไปตามสภาพ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะเป็นคนในท้องที่ จะมาในเวลาที่มีงานเทศกาล อีกปัญหาหนึ่งที่มักจะประสบในลักษณะเดียวกันคือ ด้านการจัดการเรื่องขยะซึ่งแต่ละแห่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามา  ท่องเที่ยวมักจะทิ้งขยะไว้ให้เป็นปัญหาของชุมชน 2) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว บางแห่งไม่ค่อยสะดวกเพราะอยู่ห่างไกลจากชุมชน การเดินทางลำบาก 3) สิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล บางแห่งไม่ค่อยมีความน่าสนใจมากนัก นอกจากจะมีงานเทศกาล พองานสิ้นสุดก็ไม่มีสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางไป      4) สิ่งอำนวยความสะดวก ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑลมีน้อยมาก ส่วนมากจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางการค้า ที่พักก็มีน้อย แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้มักจะเน้นที่การเดินทางไปกลับในวันเดียว สรุปสภาพปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล คือ ขาดการดูแลรักษา ขาดการฟื้นฟู การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวไม่ค่อยสะดวก สิ่งดึงดูดความสนใจยังมีน้อย 2. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยรูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล เป็นการสังเคราะห์จากเอกสาร การลงพื้นที่และการสัมภาษณ์เชิงลึก จึงได้รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคือ “LAMIC : MODEL” มีที่มาและคำอธิบายดังต่อไปนี้ 1. L มาจากคำว่า Gracefulness Location สถานที่ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องมีความสะอาดเรียบร้อยมีความเหมาะสม มีความงดงาม และต้องถูกกาลเทศะตามสมควรแก่สถานที่นั้นๆ 2. A มาจากคำว่า Picturesque Attraction สิ่งดึงดูดในในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องมีความน่าดูน่าศึกษาน่าค้นหา มีความสละสลวย สวยงามน่าเพลิดเพลิน 3. M มาจากคำว่า Good Governance Management การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวต้องเปนไปตามหลักธรรมาภิบาล 4. I มาจากคำว่า Sustainable Impression หมายถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องสร้างความประทับใจ สร้างความซาบซึ้ง ความตรึงใจให้กับชุมชนและนักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 5. C มาจากคำว่า Cultural Heritage หมายถึงแหล่งท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม ต้องได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนและของประเทศในโอกาสต่อไป  

References

กรมการศาสนา. (2514). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2539). ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กองนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2561.

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นาตยา บุตรอยู่. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาบุญไทย ปุญฺมโน (ด้วงวงศ์). (2560). รูปแบบการจัดการโบราณสถานตามหลักธรรมาภิบาลของชุมชนท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนล่าง. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เอกนฤน บางท่าไม้. (2558). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021