หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์

ผู้แต่ง

  • ฉัตรสุดา ส่องแสงเจริญ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักธรรม, พระพุทธศาสนา, สังคมสงเคราะห์

บทคัดย่อ

พุทธธรรมที่เป็นวิธีการสังคมสงเคราะห์ คือ คําสอนที่สอนให้บุคคลรู้จักการดําเนินชีวิตของมนุษย์ให้บรรลุประโยชน์ ที่เป็นจุดหมายของชีวิตที่เรียกว่า อัตถะ 3 ประการได้แก่ 1) ทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน เป็นวิธีการสังคมสงเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาของชีวิตเป็นวิธีสงเคราะห์ให้บุคคลได้มา ซึ่งปัจจัยสี่ที่จําเป็นต่อร่างกายอย่าง เพียงพอ เป็นการสงเคราะห์รายบุคคล 2) สัมปรายกัตถะ คือ ประโยชน์เบื้องหน้าเป็นวิธีการสงเคราะห์เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข เป็นการตอบสนองด้านสังคม เป็นการมุ่งสงเคราะห์เพื่อให้แก้ปัญหาส่วนสังคม 3) ปรมัตถะ คือ ประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการสงเคราะห์ด้านจิตใจ เพื่อให้บุคคลมีความมั่นคงสงบสุข เป็นการตอบสนองด้านจิตใจ วิธีนี้เป็นการดับปัญหาอย่างสิ้นเชิง

วิธีนี้เป็นการดับปัญหาอย่างสิ้นเชิง ประการที่ 2 ในแง่ของหลักการสังคมสงเคราะห์ อัตถะ 3 ประการสอดคล้องกับหลักการสงเคราะห์ชุมชนตามแนวพุทธ ดังนี้ 1) อัตถะ 3 ประการเป็นวิธีการสงเคราะห์ที่เป็นไปตามหลักเหตุผล หรือแก้ไขปัญหา ตามสาเหตุ เป็นวิธีการสงเคราะห์ทั้งในแง่ เศรษฐกิจ สังคม จิตใจ อย่างสมดุลกัน 2) อัตถะ 3 ประการเป็นวิธีสงเคราะห์ที่ทุกคนต้องลงมือปฏิบัติเอง เป็นวิธีการแก้ไขที่ ค่อยเป็นค่อยไปตามความเหมาะสม เป็นการขจัดปัญหาทั้ง 3 ด้าน โดยมุ่งให้กับปัญหาได้ในที่สุด และเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวม

ดังนั้น อัตถะ 3 ประการจึงเป็นวิธีการสังคมสงเคราะห์ตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการสงเคราะห์ที่มุ่งให้เกิดผล เป็นการตอบสนองความต้องการของชีวิตและแก้ไขปัญหาของชีวิต ใน 3 ลักษณะ คือ 1 การแก้ไขปัญหาส่วนบุคคล 2 การแก้ไขปัญหาส่วนสังคม 3 การแก้ไขปัญหาส่วนจิตใจ เพราะมนุษย์มีกิเลสอยู่ในจิตใจ ถ้าจิตใจ ถูกครอบงําด้วยกิเลสแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อสังคม เพราะพระพุทธศาสนา ยังมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาสามารถมองได้จากหลักการของอริยสัจ 4 ลำดับไป

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2549). รายงานการศึกษาเรื่องทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. เดือนสิงหาคม. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์ ห้างหุ้นส่วน จํากัด.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). พุทธวิธีการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จักกฤษณ์ จันทร์คํา. (2551). พระพุทธศาสนากับการสังคมสงเคราะห์. วิทยาเขตบาลีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประเสริฐ ปอนถิ่น. (2552). พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ (เอกสารประกอบการสอน). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎก์ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2532). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นันทวรรณ อิสรานุวัฒน์ชัย. (2550). ภาวะผู้นําที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ : ศึกษาจากหลักพุทธธรรม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ. (2529). สังคมสงเคราะห์ศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

แสง จันทร์งาม. (2526). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์บรรณาคาร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ซีดี-รอม).

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022