การพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วีรชิต ไชยเทพ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ชาญยุทธ หาญชนะ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

พนักงานรักษาความปลอดภัย, การพัฒนา, โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 247 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับศึกษาข้อมูลทั่วไป สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบการพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน

ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาค  ตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (= 3.82, S.D.= 0.43) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านด้านการรักษาความปลอดภัย (= 3.94, S.D.= 0.55) รองลงมาคือด้านการป้องกันภัยพิบัติ (= 3.92, S.D.= 0.56) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน (= 3.70, S.D.= 0.65)

การเปรียบเทียบการพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน

แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ควรมีการจัดอบรมอยู่เป็นประจำสำหรับการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์อยู่เสมอเพื่อความพร้อมต่อการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

References

กัญญารัตน์ ขันไชย. (2553). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำหลักสมรรถนะมาใช้ในการพัฒนา ทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาติ จุลพันธ์. (2551). การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ ป้องกันอุบัติเหตุ ในการทำงานของพนักงานสายการผลิต : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของ บริษัทโรแยลซีรามิคอุตสาหกรรม จำกัด [มหาชน]. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชัชวาลย์ สุขสวัสดิ์. (2552). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัทเซ็นทรัล ฟู้ต รีเทล จำกัด สาขาเอฟดีซี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, น้ำพร ธเนศสุนทร, นิธิมา สมนายัง และวิลาวัณย์ ท้วมโสภา. (2553). การพัฒนารูปแบบจิตสำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยและแผนกการฝึกอบรมพัฒนาสำหรับองค์การรักษาความปลอดภัย : กรณีศึกษาของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ. รายงานการวิจัย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.

วีระภัทร ปิณฑะแพทย์. (2555). การศึกษาสมรรถนะในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ บริหารจัดการขยะของผู้บริหารท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สนอง ชื่นรำพันธ์. (2553). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมืองจังหวังระยอง. ขอนแก่น: รายงานการศึกษาอิสระ.

สุรีวัลย์ ใจกล้า. (2557). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัทเอสอีไอ อินเตอร์คอนเนคส์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Platonova, Elena A, PhD; Hernandez, S Robert, DrPH; Moorehouse, R Brett, FACHE. (2013). “Innovative Human Resource Practices in U.S. Hospitals: An Empirical Study”. vol. 58, pp.290-301.

Sekiguchi, T. (2013). “Theoretical Implications fromthe Case of Performance based HumanResource Mnagement Practies in Japan :Management Fashion, Institutionalization andStrategic Human Resource MnagementPerspectives.” The International Journal of Human Resource Management. 24(3), 471-486.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2021