รูปแบบบรรยากาศองค์การเชิงบูรณาการปัญญาของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ณัฐการ บุญรักษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ขัตติยา ด้วงสำราญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบบรรยากาศองค์การ, วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร, โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การเชิงบูรณาการปัญญาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) สร้างรูปแบบบรรยากาศองค์การเชิงบูรณาการปัญญาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ (3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบบรรยากาศองค์การเชิงบูรณาการปัญญาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 182 โรงเรียน รวมให้ข้อมูลทั้งหมด 728 คน แบบสอบถามีค่าความเชื่อมั่น 0.991 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินและรับรองรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า (1) องค์ประกอบของรูปแบบบรรยากาศองค์การเชิงบูรณาการปัญญาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นพหุตัวแปรมี 8 องค์ประกอบ คือ กระบวนการทางปัญญา ภาวะผู้นำ ขวัญกำลังใจ การเรียนรู้ เทคโนโลยีทางการศึกษา สิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และความพึงพอใจในองค์การ (2) รูปแบบบรรยากาศองค์การเชิงบูรณาการปัญญาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นพหุตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันทั้ง 8 องค์ประกอบ โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) รูปแบบบรรยากาศองค์การเชิงบูรณาการปัญญาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 8 องค์ประกอบ ได้รับการประเมินและรับรองว่ามีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย ผ่านการประเมินคิดเป็น ร้อยละ 100

References

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: หจก.ทิพย์วิสุทธิ์.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุรพล ไกรสราวุฒิ. (2552). คู่มือปัญญาในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดา ทองมณโฑ. (2552). รูปแบบการไกล่เกลี่ยของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สิมาภา จันทร์หอมกุล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การความผูกพันในงานและความพึงพอใจในชีวิตของบุคลากรสังกัดกรมสารบรรณทหารบก. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัมฤทธิ์ ผิวนิ่ม. (2552). องค์ประกอบบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาการศึกษาศาสตร ดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิมล จันทร์แก้ว. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ปรัชญาการศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิไล กวางคีรี. (2556). การพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาการศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัลวี จารงค์. (2551). บรรยากาศองค์การในโรงเรียนเอกชนสามัญ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). รูปแบบการสอน. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2560. จากhttps://www.spu.ac.th/ tlc/files/2016/03.

Allen, D.K. (2003). Organizational climate and strategic change in higher education: Organizational insecurity, Higher Education. 46: 61-92.

Altman, R. (2000). Understanding organizational climate: Start minimizing your workforce problems. Jounal of Water Engineering & Management.

Brown, Warren and Moberg, Dennis. (1980). Organization Theory and Management: A Macro Approach. New York: Wiley & Sons.

Davis, keith. (1981). Human Behavior at Work : Organizational Behavior. (6th ed.). New York: McGraw-Hill.

Halpin, A.W. (1966). Theory and research in administration. New York: Macmillan.

Likert, Rensis. (1967). The Hucman Organization: Its Management and Value. New York: Mcgraw-Hill Kogakusha.

Snow, J. (2002). Enhancing Work Climate to Improve Performance and Retain Valued Employees. JONA, 32 (7-8): p. 393-397.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022