วิเคราะห์กุศลกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุ

ผู้แต่ง

  • สิรีรัศมิ์ สิงห์สนธิ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาอดิเดช สติวโร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิมานวัตถุ, วัตถุทาน, ศีลธรรม,, กุศลกรรม, การปฏิบัติตน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์กุศลกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุ” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย       3 ประเด็น ได้แก่ 1) ศึกษาโครงสร้าง เนื้อหาสาระของคัมภีร์วิมานวัตถุ 2) ศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ และ 3) วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์วิมานวัตถุต่อการดำเนินชีวิต สรุปผล การศึกษามีดังนี้ “ดินแดนชั้นวิมาน” กล่าวถึง ดินแดนเป็นที่อยู่ที่ตั้งของหมู่เหล่าเทวดา ซึ่งถือว่า เป็นสถานที่อันประเสริฐ วิมานเหล่านั้นมีรัศมีรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่างๆ  พร้อมด้วยสีและทรวดทรงอันงดงาม ทั้งมีขนาดพิเศษ คือ 1 โยชน์บ้าง 2 โยชน์บ้าง 12 โยชน์บ้าง มากกว่า12 โยชน์บ้าง เรียกว่า ดินแดนชั้นวิมานมีความพรั่งพร้อมด้วยความงดงามและนับโดยวิธีเศษความแตกต่างของวิมานเหล่านั้น บ้างก็เป็นวิมานทองคำ เป็นวิมานเงินวิมานแก้วผลึก วิมานแก้วมณี   วิมานแก้วไพรฑูรย์ ทั้งมีขนาดต่างกัน คือ วัดโดยรอบ 1 โยชน์ 2 โยชน์ 12 โยชน์ มีความงามเป็นเลิศ และที่เลอเลิศเพียบพร้อมไปด้วยกามคุณ 5 คือ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เป็นโลกที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งที่ดี เป็นเขตแดนของเหล่าเทวดา 105 ดังนั้น สวรรค์จึงเป็นเขตแดนที่อยู่ร่วมกันของเหล่าเทวดา ที่อุบัติขึ้นด้วยอำนาจผลบุญกุศลกรรมการทำความดีของหมู่เหล่าเทวดาและตัวของมนุษย์ก็เปรียบเสมือนดินแดนวิมานชั้นเดียวกัน เพราะจะต้องมีคุณธรรมอยู่ระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกันด้วย ทั้งนี้ วิมานอาจบังเกิดก่อนก็ได้ หรือเกิดเมื่อเจ้าของตายไปแล้ว วิมานจะหายไปเมื่อเจ้าของจุติ

          การที่มนุษย์แสดงออกในประเด็น“ค่าและความจำเป็นที่ต้องมีศีลธรรม” หมายถึง ทนายความ ตำรวจ ผู้พิพากษาขาดศีลธรรม แล้วสังคมจะเป็นอย่างไร ความไม่ปกติของบ้านเมือง หรือสังคมย่อมเกิดจากการขาดศีลธรรม แต่ส่วนใหญ่หันไปโทษอย่างอื่น โทษเศรษฐกิจบ้าง การเมืองบ้าง แต่ไม่มองว่า ต้นเหตุแท้จริงคือการขาดศีลธรรม แม้แต่คำว่า ศีลธรรมก็ยังเข้าใจไม่ตรงกันว่ามันคืออะไร เรื่องนี้จึงสับสนไปหมด โดยให้ยึดความหมาย ตามภาษาบาลีเป็นการดีที่สุด โดยคำว่า สี-ละ แปลว่า ปกติ ดังนั้นการทำให้บ้านเมือง สังคม และชีวิตมีความปกติ จึงเป็นการรักษาระบบศีลธรรมเอาไว้โดยตรง ในชีวิตคนเรานั้น ความ ปกติมี 2 ความหมายคือ การทำให้ชีวิตเป็นปกติตามธรรมชาติ คือการรักษาร่างกายให้ปกติ เช่น การกิน ยืน เดิน นอน นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อรักษาความปกติของสังคมเอาไว้อย่างไรก็ตามแม้ศีลธรรมจะเป็นหน้าที่ตามกฎธรรมชาติ แต่สังคมให้ค่าหรือคุณค่าต่อสิ่งนั้นน้อยมาก แล้วไปกำหนดคุณค่าให้กับสิ่งอื่นอย่างสูงส่ง

          ด้วยเหตุนี้กฎธรรมชาติในหนังสือดังกล่าว ยังต้องคงเดิมไว้เสมอ เนื้อหาดังกล่าวจึงข้ามกาลเวลาได้ เพราะเวลาไหนๆ มนุษย์ก็มีปัญหา คือมีปัญหาว่าชีวิตคืออะไร การไม่เข้าใจว่าชีวิตคืออะไร เป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆรวมทั้งปัญหาการเมืองด้วย นี่คือลักษณะเด่นของหนังสือที่เป็นบทบรรยายธรรมของท่าน คืออ้างอิงได้โดยไม่มีขอบเขตของเวลา ดังนั้นตราบใดที่มนุษย์ยังมีความเห็นแก่ตัว และความรู้สึกดังกล่าวนี้กำลังสร้างปัญหาให้กับสังคม หนังสือเล่มนี้สามารถหยิบมาอ่านทบทวนได้ตลอดเวลา เพราะเนื้อหาได้จี้ไปที่ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์โดยตรง โดยขอร้องให้เปลี่ยนไปเห็นแก่สังคมเสียบ้าง ไม่เช่นนั้นจะเดือดร้อนกันไปทั้งหมดเพราะเราอยู่ในโลกใบเดียวกัน

          ดังนั้น การวิเคราะห์กุศลกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ หมายถึง การรักษาศีล การทาน การปฏิบัติธรรมของเทวดาในชั้นวิมานวัตถุทั้ง 85 วิมาน แต่หากนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของปุถุชนธรรมอย่างชาวพุทธศาสนิกชน ก็อาจจะเป็นหลักการปฏิบัติตนเองในการทาน การรักษาศีล การปฏิบัติธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาต่อไป

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสฺยามรฏฺเตปิฏกํ 2525. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

________. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ.

________. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย.

________. (2539). ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกศึกษา. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เดือน คําดี. (2545). ศาสนศาสตร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท. พิมพครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2545). โลกทีปนี. กรุงเทพมหานคร : ดอกหญา.

พระโสภณคณาภรณ (ระเบียบ ฐิตญาโณ). (2523). พระสัตตันตปฎก ขุททกนิกาย เลม 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหามหากุฏราชวิทยาลัย.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2536). พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สนิท ตั้งทวี. (2527). วรรณคดีและวรรณกรรมศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2543). คำบรรยายพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระครูสิทธิสารโสภิต (ชาคาร). (2554). ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวิมานวัตถุ. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาปรม โอภาโส (กองคํา). (2541). ศึกษาวิเคราะหศรัทธาของชาวพุทธไทยในปจจุบัน. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมศักดิ์ สุวณณรตโน. (2542). ความคิดเรื่องเทวดาในพระพุทธศาสนาฝายเถรวาท. วิทยานิพนธศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021