การพัฒนามนุษย์ในวัชชีปุตตสูตร
คำสำคัญ:
การพัฒนามนุษย์, ไตรสิกขา, วัชชีปุตตสูตรบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาแนวคิดการพัฒนามนุษย์ในพระไตรปิฎก 2) ศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาหลักไตรสิกขาวัชชีปุตตสูตร และ 3) ศึกษาและวิเคราะห์การพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขาวัชชีปุตตสูตร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เอกสารเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา พบว่า 1. แนวคิดการพัฒนามนุษย์ในพระไตรปิฎก เป็นการพัฒนาคุณสมบัติในตัวบุคคล จากปุถุชนผู้มีกิเลสไปสู่ความเป็นอริยชน โดยใช้ปัญญาอย่างถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา 2. โครงสร้างและเนื้อหาหลักไตรสิกขาในวัชชีปุตตสูตร เป็นหลักธรรมของมนุษย์ แบ่งเป็น 3 อย่าง คือ 1) ศีล คือ การมีพฤติกรรมที่ถูกต้องกับเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 2) สมาธิ การฝึกจิตให้มีความมั่นคง หนักแน่น ไม่หวั่นไหวต่อกิเลสต่าง ๆ และ 3) ปัญญา การมีความรู้ความเป็นจริงของโลกและชีวิต มีความรู้อย่างแจ้งชัด ไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสิ่งทั้งหลาย 3. แนวทางการพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขาวัชชีปุตตสูตร แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านศีล หมายถึง พฤติกรรมทางกาย การอยู่ร่วมกันในสังคมและสิ่งแวดล้อม (อธิศีลสิกขา) 2) ด้านสมาธิ มุ่งพัฒนาจิตใจและอารมณ์ การควบคุมจิตให้ตั้งมั่น จิตสงบปราศจากสิ่งเศร้าหมอง (อธิจิตสิกขา) 3) ด้านปัญญา มุ่งเน้นพัฒนาสติปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เป็นสัมมาทิฏฐิ (อธิปัญญาสิกขา) และปัญญาในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โลกิยปัญญา และโลกุตตรปัญญา
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ถึงเวลามารื้อปรับระบบพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพฯ:
การศาสนา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสฺยามรฏฺเตปิฏกํ 2525. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
________. (2528). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิญญาณ.
________. (2539). ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย.