แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่และวิถีถัดไปในภาคตะวันออกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ สถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก
  • พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ วิทยาลัยผู้ประกอบการสร้างสรรค์นานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล สถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก
  • จิรนันท์ ใหญ่ลำยอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำแบบปรับตัว, ผู้บริหารการอาชีวศึกษา, ภาวะผู้นำแบบปรับตัว ผู้บริหารการอาชีวศึกษา สถานการณ์วิถีปกติใหม่และวิถีถัดไป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะ องค์ประกอบ และเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ แบบปรับตัวของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในภาคตะวันออกของ ประเทศไทย โดยการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารสถาบัน การอาชีวศึกษาที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 9 คน แล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า เกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบปรับตัว 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนตัว การพัฒนางานวิชาการและวิจัย และการ พัฒนาบุคลากร เพื่อสอบถามผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาและบุคลากร จำนวน 285 คน จาก 9 สถาบัน ในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การตรวจสอบองค์ประกอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูลและการยืนยันร่างแนวทางโดยวิธีการสนทนาอิงผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์หรือการสร้างบารมี (2) การสร้างแรงบันดาลใจ (4) การมีกลยุทธ์และแสวงหาโอกาสในการปรับตัว (4) การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา (5) การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล (6) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก (7) การสร้างบรรยากาศองค์กรและค่านิยมร่วมเชิงสร้างสรรค์ (8) การมีวุฒิภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (9) การกระตุ้นทางปัญญา และ (10) การพัฒนาทักษะอาชีพเชิงดิจิทัล ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาให้มีภาวะผู้นำแบบปรับตัวภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่และวิถีถัดไปเพื่อให้สามารถบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอาชีวศึกษาต่อไป

References

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และดรุณี ปัญจรัตนากร. (2563). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการ และเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2. 1-2 กุมภาพันธ์ 2563.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ฤทธิเดช พรหมดี, ปรางทิพย์ เสยกระโทก, จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์ และอาคีรา ราชเวียง. (2563). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกของประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร, 28 พฤศจิกายน 2563. 1413-1428.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร, ฤทธิเดช พรหมดี และเชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2564). องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 10. 28-29 มกราคม 2564. 3513-3528.

Aldhaheri, A. (2021). Measuring School Leaders' Adaptability in the UAE: Development of a Scale to Measure Leadership Adaptability. Evidence-based HRM. 9 (1) : 34-46.

Bartsch, S., Weber, E., Büttgen, M. and Huber, A. (2021). Leadership Matters in Crisis-Induced Digital Transformation: How to Lead Service Employees Effectively During the COVID-19 Pandemic. Journal of Service Management. 32 (1) : 71-85.

Fernandez, A.A. and Shaw, G.P. (2020). Academic Leadership in a Time of Crisis: The Coronavirus and COVID-19. Journal of Leadership Studies. 14 (1) : 39-45.

Heifetz, R. (2020). The Practice of Adaptive Leadership: Tools and Tactics for Changing Your Organization and the World. Harvard Kennedy School. 79 John F. Kennedy Street Cambridge, MA.

Karia, N. and Abu Hassan Asaari, M.H. (2019). Leadership Attributes and Their Impact on Work-Related Attitudes. International Journal of Productivity and Performance Management. 68 (5) : 903-919.

Miller, A.E. (2019). Leadership Theory Analysis: Adaptive Leadership. Teaching Course, Azusa Pacific University. 1-21.

Rehman, U.U. and Iqbal, A. (2020). Nexus of Knowledge-Oriented Leadership, Knowledge Management, Innovation and Organizational Performance in Higher Education. Business Process Management Journal. 26 (6) : 1731-1758.

Striteska, M.K. and Prokop, V. (2020). Dynamic Innovation Strategy Model in Practice of Innovation Leaders and Followers in CEE Countries-A Prerequisite for Building Innovative Ecosystems. Sustainability. 12 : 3918: 1-12.

Tran, L.T. and Nghia, T.L.H. (2020). Leadership in International Education: Leaders’ Professional Development Needs and Tensions. Higher Education. 80 : 479-495.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022