รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมในพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์

ผู้แต่ง

  • เอกลักษณ์ เพ็งพรหม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สุพรรณี สมานญาติ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พระมหาสหัส ฐิตสาโร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, หลักธรรมในพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมในพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ วิธีการศึกษาเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน 16 รูป/คน ในเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ผู้ที่ตอบแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มอาจารย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น จำนวน 368 รูป/คน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ตรวจสอบหาค่าความสอดคล้องของข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมในพุทธศาสนา เป็นการนำหลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ควบคู่กับการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปเพื่อให้การบริหารงานบุคคลนั้นเป็นไปในทิศทางที่สร้างสรรค์ คือเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อประโยชน์สุขต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในองค์กร ส่วนรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมในพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ POLC-2D CYCLE MODEL ประกอบด้วย 4 หลัก 2 ฐาน 4 วงจร ดังนี้ 4 หลัก ได้แก่ P-Planning : การวางแผน, O-Organizing : การจัดองค์กร, L-Leading : การนำ, C-Controlling : การควบคุม 2 ฐาน ได้แก่ ฐานคุณธรรมสำหรับการบริหารตนและการบริหารงานบุคคลตามแนวพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย ฐานที่ 1 (D1 - Dhamma1 = Aparihaniyadhamma) คือ อปริหานิยธรรม 7 เพื่อการบริหารงานบุคคล ฐานที่ 2 (D2 - Dhamma2 = Brahma Vihara Dharmas) คือ พรหมวิหารธรรม 4 เพื่อการบริหารตน 4 วงจร ได้แก่ ระบบการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยว่าด้วย การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ประกอบด้วย 1) การได้มาซึ่งบุคลากร 2) การบำรุงรักษาบุคลากร 3) การพัฒนาบุคลากร และ 4) การให้บุคลากรพ้นออกจากงาน

References

กุลชลี พวงเพ็ชร์. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ปทุมธานี : ยูโอเพ่น.

พระครูประวิตรวรานุยุต (ดร.). (2559). การสำรวจวิเคราะห์ความคิดเห็นการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. (กรกฏาคม-ธันวาคม).

พระมหาไพสิฐ อภิชาโน (จะโต). (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามหลักไตรสิกขา. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).

ไพฑูรย์ ปริญญาธรรมกุล. (2564). การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 10. ฉบับที่ 1. (มกราคม - มีนาคม).

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2541). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2541. (อัดสำเนา).

วินัย ภูมิสุข และณัฏฐกานต์ หงส์กุลเศรษฐ์. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพรหมวิหาร. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. ปีที่ 7. ฉบับที่ 3. (กันยายน –ธันวาคม).

สมบัติ เจนสระคูและคณะ. (2561). การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารตามหลักอปริหานิยธรรม 7 โรงเรียนการกุศลของวัด ทางพระพุทธศาสนา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน).

สุภาวดี ขุนทองจันทร์, ผศ.ดร. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

สุวิทย์ ฝ่ายสงค์. (2563). ตัวแบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลตอ่องค์กรแห่งความสุข. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ 5. ฉบับที่ 9. (กันยายน 2563).

Snell, S. A., Morris, S. S., & Bohlander, G. W. (2016). Managing human resource. (17th ed.). Boston, MA: Cengage Learning.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022