การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพเพื่อจัดการเรียนการสอน โรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
บริหารจัดการระบบคุณภาพ, โรงเรียนมาตรฐานสากล, ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เทียบเคียงมาตรฐานสากล 3. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักเรียน ที่เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล การวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประชากรได้แก่ โรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 517 โรงเรียน ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูที่รับผิดชอบงานการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน รวมโรงเรียนละ 4 คน จำนวนทั้งสิ้น 2,068 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 220 โรงเรียน ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูที่รับผิดชอบงานการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน รวมโรงเรียนละ 4 คน จำนวนทั้งสิ้น 880 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1. การดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก 2. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เทียบเคียงมาตรฐานสากล พบว่า ในภาพรวมครูโรงเรียนมาตรฐานสากล มีการปฏิบัติด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก 3. คุณลักษณะของนักเรียน ที่เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติทุกรายวิชา 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะ 4.1 ความคิดเห็นการบริหารจัดการระบบคุณภาพเป็นรูปแบบที่ดีมาก 4.2 สภาพปัญหาการทำงานของแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน 4.3 ความต้องการควรมีการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพให้มีความเข้าใจง่าย 4.4 ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาให้โรงเรียนทุกขนาดเป็นมาตรฐานสากล
References
เอกวิทย์ มั่งอะนะ และ จิติมา วรรณศรี. (2559, กรกฎาคม – กันยายน). สมรรถนะและแนวทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียมาตรฐานสากล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 18(3) : 98 – 111.
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2dqP8f3.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ.2552 – 2561). กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). นโยบายสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560, เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/5VZ5q5.
สุจิตรา บุญรัตนพันธุ์. (2534). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทพรัตน์ การพิมพ์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การประเมินโครงการ: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราตรี ศรีไพรวรรณ. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ ค.ด. (บริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัณฑิต พัดเย็น. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษาสู่เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์. ปร.ด. (บริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชนิกานต์ ถาวรยุติการต์. (2550). การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรตามแนวคิดของ Malcolm Baldrige กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.