ความต้องการและแนวทางการพัฒนาต่อการสนับสนุนความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดและโรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้แต่ง

  • สมชัย ชวลิตธาดา มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

ความต้องการและแนวทางการพัฒนา, ด้านการดำเนินงาน, การสอนแบบ Stem

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดและโรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษา 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดและโรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษา ประชากร แบ่งเป็น 2 ตอนตอนที่ 1 ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด จำนวน 81 โรงเรียนและโรงเรียนประจำเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 183 โรงเรียน รวมทั้งหมด จำนวน 264 โรงเรียน ตอนที่ 2 การสัมภาษณ์ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด จำนวน 5 โรงเรียนและโรงเรียนประจำเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 5 โรงเรียน รวมทั้งหมด จำนวน 10 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน รองผู้บริหารสถานศึกษาหรือหัวหน้างานระดับปฐมวัย 1 คนและครูผู้สอนระดับปฐมวัย 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 40 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการดำเนินงาน 1.1) ด้านการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษา พบว่า มีการประชุมปฏิบัติการสร้างโรงเรียนเครือข่าย มีวิทยากรที่สามารถเป็นทีมงานพัฒนาความรู้ในเขตพื้นที่การศึกษา 1.2) มีการสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อให้ความรู้แลก เปลื่ยนเรียนรู้ 1.3) มีการสร้างเครือข่ายทางทางไลน์กลุ่ม เฟสบุ๊ค สมาคมชมรมในห้องเรียน 2) ด้านสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการพัฒนา 2.1) ด้านปัญหา พบว่า โรงเรียนประสบปัญหาในด้านผู้บริหาร ด้านการบริหาร และด้านงบประมาณ 2.2) ด้านความต้องการ พบว่า ต้องการความช่วยเหลือ/สนับสนุนการ ด้านบทบาทการเป็นศูนย์เครือข่าย ต้องการบุคลากรให้ครบตามเกณฑ์ ต้องการให้จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ต้องการออกนิเทศติดตามโรงเรียนในเครือข่ายที่ได้รับการอบรม 2.3) ด้านแนวทางพัฒนา พบว่า ควรมีรูปแบบหรือแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การสอนแบบ Stem, การสอนมอสเตส เป็นต้น

References

คนึง สายแก้ว, ดร. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย. สุรินทร์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ประไพ อุดมผล. (2554). การปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรา เอี่ยมกิจการ. (2557). พัฒนาการเด็กปฐมวัยรากแก้วแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

ภาพร เริงไชย. (2547). การศึกษาความสมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนกับบทบาทการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547) คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการ สภาพการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) http://www.qlf. or.th/Home/Contents/1009#.VRIihp8uz7c.facebook.

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022