สรรถนะด้านอาชีพต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ

ผู้แต่ง

  • สมชัย ชวลิตธาดา มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

สรรถนะด้านอาชีพ, การจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพ, โรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ 2. เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 1) ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ /ครูวิชาการ/ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 181 คน 2) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 181 คน  3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 839 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 701 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   

ผลการวิจัยการศึกษาการบริหารจัดการการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพในภาพรวม พบว่า 1. การศึกษาวิธีการและกระบวนการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. การศึกษาสมรรถนะด้านอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ ในภาพรวมมีสมรรถนะอยู่ในระดับมาก 3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับนำร่องการสอนทักษะอาชีพ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานปี งบประมาณ 2558. กรุงเทพ ฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2557). ทำอย่างไรเมื่อได้สอนเด็กพิเศษ. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

เตือนใจ อารีโรจนนุกูล. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1. วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จังหวัดเชียงใหม่.

พะนากร มีภูคา. (2555). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านต้อนราษฎร์ ดำรงวิทย์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ทวี อุปสุชิน. (2554). รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษาด้านอาชีพของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนัย วงศ์สุวคันธ. (2555). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(20): 23-24.

สำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ข้อมูล พื้นฐานด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพ ฯ: กรมทรัพยากรน้ำ.

เผยแพร่แล้ว

13-06-2022