สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกการต่างประเทศแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • พอนไซ กุนละวง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ชาญยุทธ หาญชนะ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, พนักงาน, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกการต่างประเทศแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงานแผนกการต่างประเทศแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกการต่างประเทศแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

          ผลการวิจัย พบว่า ระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน แผนกการต่างประเทศแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.85, σ = 0.37) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคลากร           (μ = 4.57, σ = 0.65) รองลงมาคือด้านแรงจูงใจในการทำงาน (μ = 4.50, σ = 0.52) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านทักษะ (μ = 3.13, σ = 0.60) การเปรียบเทียบระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกการต่างประเทศแขวงหลวงพระบาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และสถานภาพ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน แผนกการต่างประเทศแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ 1.  ควรจัดให้มีการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้มากยิ่งขึ้นก่อนเข้าปฏิบัติงานตามหน้าที่ และ 2.  ควรจัดให้มีการเพิ่มทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็วและถูกต้อง

References

เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค. (2546). การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: โกบัลคอนเซิร์น.

กัลยา ศรีธิ. (2553). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วน ตําบลในเขตอําเภองาว จังหวัดลําปาง. งานค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง.

ชัชวาลย์ สุขสวัสดิ์. (2552). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัทเซ็นทรัล ฟู้ต รีเทล จำกัด สาขาเอฟดีซี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, น้ำพร ธเนศสุนทร, นิธิมา สมนายัง และวิลาวัณย์ ท้วมโสภา. (2553). การพัฒนารูปแบบ จิตสำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยและแผนกการฝึกอบรมพัฒนาสำหรับองค์การรักษา ความปลอดภัย : กรณีศึกษาของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ. รายงานการวิจัย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.

ชาติ จุลพันธ์. (2551). การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ ป้องกันอุบัติเหตุ ในการทำงานของพนักงานสายการผลิต : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของ บริษัทโรแยลซีรามิคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วีระภัทร ปิณฑะแพทย์. (2555). การศึกษาสมรรถนะในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ บริหารจัดการขยะของผู้บริหารท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สนอง ชื่นรำพันธ์. (2553). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมือง. มาบตาพุด อำเภอเมืองจังหวังระยอง. ขอนแก่น: รายงานการศึกษาอิสระปริญญาโท.

McClelland, David C. (1973). Testing for Competence rather than Intelligence. American

Psychologist. Retrieved December 11, 2005, from www.ei. Haygroup.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021