คุณภาพชีวิตในการทํางานของพนักงานแผนกการต่างประเทศ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตในการทำงาน, พนักงาน, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานแผนกการต่างประเทศ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงานแผนกการต่างประเทศ แขวงหลวงพระบาง จำนวน ทั้งสิ้น 115 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานแผนกการต่างประเทศ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้ต่อเดือน
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตในการทํางานของพนักงานแผนกการต่างประเทศแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.60, S.D.= 0.40) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านภาวะอิสระในการปฏิบัติงาน (= 4.16, S.D.= 0.33) รองลงมาคือด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน (= 3.68, S.D.= 0.67) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความก้าวหน้า (=3.31, S.D.= 0.85) การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานแผนกการต่างประเทศ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมพบว่า อายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้ต่อเดือน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานแผนกการต่างประเทศ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ ในการพิจารณาตำแหน่งควรใช้ความสามารถและผลงานของพนักงานเป็นเกณฑ์หลักสำหรับการตัดสินใจ และองค์กรควรมีการสนับสนุนให้พนักงานทุกคน ทุกตำแหน่ง มีโอกาสได้ทุนเพื่อไปศึกษาต่อยังระดับที่สูงขึ้นตามความต้องการของพนักงานอย่างเสอมภาค และเท่าเทียมกันทั้งองค์การ
References
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์.
ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2532). ผู้นำชุมชนชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษาเฉพาะกรณีปัจจัยที่ทำให้เกิดอานาจและการสร้างอำนาจให้กับตน. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพร สังข์เพิ่ม. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์) คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อิงอร ตั้นพันธ. (2558). ความผูกพันของพนักงานระดับหัวหน้างานต่อองค์การของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน.วารสารเกษมบัณฑิต. 16 (2), 125-139.
Huse, E.F., and Cummings, T.G. (1985). Organizational Development and Change. St.Paul, Minn : West.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.