การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของประชาชนในเทศบาลตำบลบ้านผือ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • นราศักดิ์ ทองเกตุ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • โกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

กิจกรรมของประชาชน, การมีส่วนร่วม, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของประชาชนในเทศบาลตำบลบ้านผือ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านผือ โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane. 1973) จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของประชาชน เทศบาลตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ

          ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของประชาชนในเทศบาลตำบลบ้านผือ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (= 3.95, S.D.= 0.33) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (= 4.18, S.D.= 0.37) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (= 4.08, S.D.= 0.50) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 3.45, S.D.= 0.84) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของประชาชนในเทศบาลตำบลบ้านผือ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของประชาชนในเทศบาลตำบลบ้านผือ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ การปรับนโยบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ประชาชนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคม ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบล และ อบต. กรุงเทพมหานคร.

จิรวรรณ อินทรีย์สังวร. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาสามปี: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

จุฑามาศ ศรีสิริพรพันธ์. (2548). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปัญหาพิเศษ รป.ม. (นโยบายสาธารณะ.) วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.

จริญญา จันทร์ทรง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตองค์กาบริหารส่วนตาบลหนองแสงใหญ่ อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วชิราวรรณ นิลเกตุ. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นกรณีศึกษาองค์การบริหาร ส่วนตาบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Huse, E.F., and Cummings, T.G. (1985). Organizational Development and Change. St.Paul, Minn : West.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021