รูปแบบกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาในการบริหารธุรกิจเชิงพุทธบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • อลิศา ริมดุสิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระเทพปวรเมธี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีรัตนบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงทางปัญญา, การบริหารธุรกิจ, พุทธบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง รูปแบบกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาในการบริหารธุรกิจเชิงพุทธบูรณาการนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาในการบริหารธุรกิจ 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาในการบริหารธุรกิจเชิงพุทธ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาในการบริหารธุรกิจเชิงพุทธบูรณาการ โดยจำแนกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม คือ นักธุรกิจไทยจำนวน 3 คน ที่มีบริบทของการบริหารธุรกิจแตกต่างกัน แต่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การวิจัย และพระสงฆ์ผู้นำในสังคมไทยที่ทำหน้าที่บริหารสถาบันการศึกษาสงฆ์ จำนวน 3 รูป

ผลการวิจัย พบว่า องค์ความรู้ของผู้บริหารธุรกิจนั้น แม้มีบริบทของธุรกิจแตกต่างกันแต่มีการตระหนักถึงสภาพปัญหาในการบริหารธุรกิจทำนองเดียวกัน และได้ดำเนินการบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบสร้างการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาและธุรกิจประสบความสำเร็จด้วยหลักการ 6 ประการคือ (1) การสร้างความมั่งคั่งให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) การส่งเสริมศักยภาพบุคลากร (3) การสร้างความปลอดภัยและความประหยัด (4) การมีวิสัยทัศน์และการสื่อสารที่ชัดเจน (5) การแสวงหาโอกาส และ(6) การปรับระบบการทำงานให้เหมาะสมและทันสมัย

จากการศึกษาการบูรณาการหลักธรรมจากประสบการณ์ของพระสงฆ์ผู้นำในสังคมไทยและหลักการบริหารธุรกิจเชิงพุทธบูรณาการของนักบริหารธุรกิจพบว่า รูปแบบกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาเชิงพุทธบูรณาการเพื่อการบริหารธุรกิจในสภาพการณ์เปลี่ยนแปลง หรือ “WISDOM Model” เป็นกรอบ ความคิดเชิงกระบวนการที่เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยสำคัญคือ การสร้างความมั่งคั่ง การสร้างความรู้การใช้ปัญญา การสร้างความปลอดภัยและความประหยัด การมีวิสัยทัศน์และการสื่อสารที่ชัดเจน การสร้างโอกาส และการสร้างระบบการบริหารที่เหมาะสมและทันสมัย เป็นรูปแบบที่มีพลวัตแบบเป็นวงกลมที่มีลักษณะปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างปัจจัยทางปัญญาส่วนย่อยและการบูรณาการทางปัญญาส่วนรวม ซึ่งการทำความเข้าใจปัจจัยทางปัญญาส่วนย่อยให้พิจารณาที่การบูรณาการทางปัญญาส่วนรวมประกอบ และการทำความเข้าใจการบูรณาการทางปัญญาส่วนรวมให้พิจารณาดูปัจจัยทางปัญญาส่วนย่อยประกอบและการเปลี่ยนแปลงการบูรณาการทางปัญญาส่วนรวมมีการพัฒนายกระดับเป็นเกลียวตามการเรียนรู้และประสบการณ์

References

นงค์นาถ ห่านวิไล. (2555). ถอดรหัสพฤกษา มหาเศรษฐีทองมา. กรุงเทพฯ: บริษัท ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย).

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมประสงค์ บุญยะชัย. (2558). งานเป็นเรื่องหลัก รักเป็นเรื่องใหญ่ กำลังใจเป็นเรื่องสำคัญ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สัมภาษณ์ นางศุภจี สุธรรมพันธ์ ประธานกรรมการบริหารของกลุ่มดุสิตธานี. 21 ธ.ค. 63.

สัมภาษณ์ นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน). 8 ธ.ค. 63.

สัมภาษณ์ นายสมประสงค์ บุณยะชัยอดีต ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (อินทัช). 3 ธ.ค. 63.

สัมภาษณ์ พระเทพเวที (พล อาภากโร), รศ. ดร., ป.ธ. 9, ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร, เจ้าคณะภาค 6, รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร.. วันที่ 13 พ.ย. 63.

สัมภาษณ์ พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ วรทสฺสี), ดร., ป.ธ. 9, เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร, เจ้าคณะภาค 10. วันที่ 19 พ.ย. 63.

สัมภาษณ์ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ศ. ดร., ป.ธ. 9, เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, กรรมการมหาเถรสมาคม. วันที่ 7 ก.พ. 64.

ARTHUR G. BEDEIAN. (1993). Management Third Edition Harcourt Brace Jovanovich International Edition. Print in the United State of America.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022