คุณค่าและอิทธิพลของปราสาทแก้วที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธ ในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระครูปราสาทสุวรรณกิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระคำรณ รติโก/สำราญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

คุณค่า, ปราสาทแก้ว, วิถีชีวิตชาวพุทธ

บทคัดย่อ

ปราสาทแก้ว เป็นปราสาทขอม ตั้งอยู่ในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 และเมื่อพระภิกษุชื่อ “พระปลง” ได้มาสร้างวัดและเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดปราสาทแก้ว” เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน การสร้างปราสาทแก้วสำหรับเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อพระปืด จึงเป็นเครื่องสื่อให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และการแสดงความเคารพต่อพระศาสดาด้วย วิถีชีวิตของชาวอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่ทำหัตถกรรมผ้าไหมและหัตถกรรมเครื่องประดับเงิน ปะเกือมหรือประคำ อันเป็นอัตลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นมากกว่าหลายร้อยปี คุณค่าและอิทธิพลของปราสาทแก้วต่อวิถีชีวิตของชาวพุทธในอำเภอเขวาสินรินทร์ ใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านจิตใจ ปราสาทแก้วเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประดิษฐานองค์พระปืด อันเป็นสัญลักษณ์รูปแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจของชาวพุทธ 2) ด้านสังคม เป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของชาวพุทธอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังสืบไป 3) ด้านปัญญา นำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นวิถีที่นำไปสู่สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม การคิดเป็นระบบอย่างสร้างสรรค์ มีความถูกต้องตามหลักแห่งเหตุและผลในอริยสัจ 4 รู้ดีรู้ชั่ว เรียกได้ว่าเป็น “การดำเนินชีวิตที่ ถูกทาง ถูกต้อง ถูกธรรม” ดังนั้นในบทความนี้ผู้เขียนมุ่งนำเสนอ 3 ประเด็น คือ 1) ประวัติและความสำคัญของปราสาทแก้ว อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์, 2) วิถีชีวิตของชาวอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ 3) วิเคราะห์คุณค่าและอิทธิพลของปราสาทแก้วต่อวิถีชีวิตของชาวพุทธในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ บทความนี้ใช้การศึกษาเชิงเอกสารและและลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์

References

คณะกรรมการบริหารงานอําเภอเขวาสินรินทร์. (2564). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาอําเภอ 4 ปี อำเภอ เขวาสินรินทร์. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564. จาก https://www.google.com/ search? q=แผนยุทธศาสตร์พัฒนาอําเภอ+4+ปี+อำเภอเขวาสินรินทร์.

คลังข้อมูลชุมชน. (2564). โครงการผ้าไหมทอมือกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านเขวาสินรินทร์. สืบค้น เมื่อ 9 สิงหาคม 2564. จาก https://www.sac.or.th/ exhibition/24 communities/ kheawasinrin/.

ชุมชนเขวาสินรินทร์. (2564). ประวัติชุมชนเขวาสินรินทร์. สืบค้นวันที่ 16 สิงหาคม 2564. จาก http://khwao. blogspot.com/2015/05/blog-post.html.

ประคำแห่งเขวาสินรินทร์ 3. (2564). ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเขวาสินรินทร์. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564. จาก https://sites.google.com/a/surinpakdee.ac.th/prakha-haeng-khe-wasin-ri-nthr3/.

ประเวศ วะสี. (2547). ธรรมชาติของสรรพสิ่งการเข้าถึงความจริงทั้งหมด. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พูนศักดิ์ กมล. (2562). คุณค่ามนุษย์แบบอัตวิสัยในมหาสติปัฏฐานสูตร. วารสารพุทธมัคค์. ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).

ภานุวัฒน์ เอื้อสามาลย์. (2545). “การศึกษาพัฒนาการชุมชนโบราณบ้านพระปืด ตำบลบ้านแร่ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี). ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2550). พุทธภาษิต ธรรมเทศนา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาสถาบันลือธรรม.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สัมภาษณ์ พระครูสถิตวรรัตน์ ฐานวโร. (2564). เจ้าอาวาสวัดปราสาทแก้ว. บ้านพระปืด ตำบลบ้านแร่ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์, 16 สิงหาคม 2564.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2564). ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์. สืบค้น วันที่ 16 สิงหาคม 2564. จาก https://www.m-culture.go.th/surin/ewt_news. php?nid=304& filename=index.

เสนอ นิลเดช. (2544). ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สามารถ เตจ๊ะวงศ์. (2545). ค่านิยมและพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของข้าราชการครูที่มีหนี้สิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สารจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์. (2556). เส้นทางอารยธรรม มรดกล้ำค่าสุรินทร์. สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. พิมพ์ครั้งแรก. สุรินทร์ : Credits.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9. (2536). เล่ม 17. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9. (2558). เล่ม 30. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สารานุกรมเสรี. (2564). อำเภอเขวาสินรินทร์. สืบค้นวันที่ 16 สิงหาคม 2564. จาก https://th.wikipedia. org/wiki/อำเภอเขวาสินรินทร์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2544). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

อนุวิทย์ เจริญศุภกุล. (2524). แบบโครงสร้างและระเบียบการก่ออิฐสถาปัดยกรรมสกุลช่างเขมรและศรีวิชัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Sweeney. J. C. & Soutar, G. N. (2001). Consumer perceived value: The development of a multiple item scale. Journal of retailing. 77 (2) 2001: 203-220.

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022