บทบาทของพระครูปริยัติสุทธิวงศ์กับการสร้างชุมชนคุณธรรมต้นแบบวิถีพุทธในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การสร้างชุมชน,, คุณธรรมต้นแบบวิถีพุทธ, บทบาทด้านการศึกษาบทคัดย่อ
พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับชุมชน และเป็นเสาหลักสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนและสังคมไทยมีความเจริญทางด้านจิตใจและอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข แนวคิดการสร้างชุมชนคุณธรรมต้นแบบวิถีพุทธ เป็นวิธีการจัดการชุมชน โดยอาศัยหลักพุทธธรรมเป็นกระบวนการในการบูรณาการในแต่ละด้าน เพื่อให้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในชุมชน และเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการวิถีพุทธในชุมชน มีความเป็นอยู่ที่ดีและสามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน อนึ่ง ในจังหวัดสุรินทร์นั้น พระครูปริยัติสุทธิวงศ์มีบทบาทสำคัญในการสร้างชุมชนคุณธรรมต้นแบบวิถีพุทธ ใน 3 บทบาทที่โดดเด่น คือ 1) บทบาทด้านพัฒนาจิตวิญญาณ: มีการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อบรมคุณธรรมจริยธรรมและปลูกฝังค่านิยมไทยแก่เยาวชนและประชาชน 2) บทบาทด้านการศึกษา: มีการอบรมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่องให้แก่เยาวชนและประชาชน และ 3) บทบาทด้านผู้นําการพัฒนาชุมชน: มีการจัดโครงการพัฒนาคุณธรรมแก่เยาวชนและพุทธศาสนิกชนทั่วไปตลอดทั้งปี ผลงานดังกล่าวนี้ ย่อมปรากฎจากเกียรติคุณจากองค์กรต่าง ๆที่มอบให้ จึงนับได้ว่าเป็นพระครูปริยัติสุทธิวงศ์ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างชุมชนคุณธรรมต้นแบบวิถีพุทธในจังหวัดสุรินทร์ และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับเอาแนวคิดสำคัญและตัวอย่างที่ดีนำมาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต และเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป ดังนั้น ในบทความนี้ จึงมุ่งประสงค์ในการเสนอ 3 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์และการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างชุมชนคุณธรรมต้นแบบวิถีพุทธ 3) เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของพระครูปริยัติสุทธิวงศ์ ด้านการสร้างชุมชนคุณธรรมต้นแบบวิถีพุทธ โดยการศึกษาในเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). ชุมชนนิยม: ฝ่าวิกฤตชุมชนล่มสลาย. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ชุมชน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทาริตา แตงเส็ง และคณะ. (2563). การพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่. ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม.
เบญจา มังคละพฤกษ์. (2552). พระกับการเมือง : หลวงตามหาบัวกับทักษิณ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บ้านหนังสือ.
ปลื้ม โชติษฐยางกูล. (2550). กฎหมายคณะสงฆ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2541) .ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ้งภากรณ์. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พิชิต คําพลงาม. (2549). พระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พระครูปริยัติสุทธิวงศ์. เอกสารประวัติพระครูปริยัติสุทธิวงศ์. วัดสุทธิวงศา บ้านหัวงัว ตำบลหัวงัว อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์. (อัดสำเนา).
พระชูศักดิ์ น้อยสันเทียะ. (2545). บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพัฒนาชนบทศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2554). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพฯ: สามลดา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2547). ไตรภูมิพระร่วงมีอิทธิพลต่อสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ธนธัช.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
. (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
. (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระมหาสมชาย ญานวุฑฺโฒ. (2552). หลักธรรมที่ทำให้ชีวิตมีความสุข. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). ธรรมนูญชีวิต : พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.