พรหมวิหาร 4 กับบทบาทและสิทธิสตรี

ผู้แต่ง

  • พระครูรัตนากรวิสุทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ระยอง
  • พระครูสังฆวิสุทธิคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ระยอง
  • พระครูปริยัติสุวัฒนาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ระยอง

คำสำคัญ:

พรหมวิหาร 4, สิทธิสตรี, บทบาทสตรี

บทคัดย่อ

สตรีหรือผู้หญิงนั้นล้วนแต่มีความสำคัญกับสังคมไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ในหลายๆครั้งสตรีเหล่านี้ได้รับการปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ถูกคุกคามทางเพศ เผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว ไม่ได้รับโอกาสและสิทธิในบางประการ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. เพื่อศึกษาหลักพรหมวิหาร 4 อันประกอบด้วย ความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา มาประยุกต์ใช้กับสังคมให้เกิดการปฏิบัติต่อสตรีด้วยความเมตตา กรุณา และมีมุทิตาในการแสดงความยินดีในการทำหน้าที่ของสตรี ในการวางใจเป็นกลางในการให้สตรีทำหน้าที่ต่างๆเพื่อส่วนรวม รวมถึงเป็นการนำหลักพุทธธรรมเข้ามากล่อมเกลาจิตใจของคนในสังคม 2. เพื่อศึกษาเรื่องบทบาทและสิทธิของสตรี ที่มีต่อสังคม มากขึ้น ในทางกลับกันสตรีเหล่านั้นควรนำหลักพรหมวิหาร 4 มาพัฒนาสังคมเช่นกัน ด้วยการใช้ความเมตตาและกรุณา เพื่อแสดงความปรารถนาดีและพัฒนาสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงมีมุทิตาในการแสดงความยินดี โดยไม่นำอารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมากระทบต่อการช่วยเหลือหรือตัดสินคนอื่น รวมถึงการมีอุเบกขาความเป็นกลางในยอมรับความจริงและข้อจำกัดบางประการของสตรี 3. เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ให้สอดคล้องกับบทบาทและสิทธิของสตรีเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรมต่อสตรี รวมถึงการยอมรับข้อจำกัดบางประการของสตรีเพื่อ ส่งเสริมให้สตรีมีบทบาทที่สำคัญ เข้าถึงโอกาสและสิทธิต่างๆเพื่อเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาสังคมและประเทศต่อไป

References

เชื่อมชิต, ไพรินทร์. (2546). บทบาทสตรีต่อการจัดการลุ่มนํ้า. สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

ธํามรงค์ปรีชําชัย, ภัทรพงษ์, ธีรวรรณ ธีระพงษ์n และวีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร. (2563). อิทธิพลของความเมตตากรุณาต่อตนเองท่ีมีต่อความกรุณาต่อผู้อื่นและความสุขของจิตอาสา ในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล. มนุษยศาสตร์สาร. 21 (2): 84-102.

ประทิน, แสงไทย, พระราชปริยัติกวี และสิริวโร พระมหาพรชัย. (2561). รูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรี เพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (4): 1334-1346.

พระภาณุพงศ์ มหชฺฌาสโย (วรรณอําไพ) และ พระครูสุธีวรสาร. (2563). การบริหารงานตามหลกัพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองกุงศรี2สังกดัสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. Journal of Buddhist Education and Research. 6 (1): 163-174.

วีรกุลเทวัญ, โสภิดา. 2563. แนวคิดสตรีนิยมและประสบการณ์กับอาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์. วารสารจุดยืน. 7 (1): 39-48.

แสงวัฒนาฤกษ์, จิตรา. (2563). บทบาทผู้นําสตรีจิตอาสาเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (4): 1622-1638.

อักษรศรี, อัญธิษฐา และ วันชัย แสงสุวรรณ. (2564). บทบาทของสตรีไทยในยคุไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิจยวิชาการ. 4 (3): 297-310.

อุตมะ, พลเอกศุภวุฒิ. (2561). สิทธิมนุษยชนกับประชาธิปไตย ศึกษากรณีหลักธรรมในพระพุทธศาสนา. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Lockwood, Bert B. (ed.). (2006). Women's Rights: A “Human Rights Quarterly”. Reader (Johns Hopkins University Press, Office of Women’s Affairs and Family Institutions, Women Develop- ment Plan during The National Economic and Social Development Plan Vol.11 (2012-2016).

Inthasara, V. (2003). The Principle of the Heart of Buddhism. Bangkok: Thammada Printing.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022