การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ด้วยทฤษฎีโพลยา โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล (Bar Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ ไพรวงษ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะ, จังหวัดสุรินทร์, เทคนิคบาร์โมเดล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การบวก การลบ ด้วยทฤษฎีโพลยา โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) ศึกษาประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยการพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การบวก การลบ ด้วยทฤษฎีโพลยา โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยการพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ด้วยทฤษฎีโพลยา โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปรือ จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ด้วยทฤษฎีโพลยา โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ด้วยทฤษฎีโพลยา โดยใช้เทคนิค บาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 75.10/75.29 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ด้วยทฤษฎีโพลยา โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.6491 สูงกว่าสมมติฐานที่กำหนดไว้ หมายความว่านักเรียนมีความรู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.91 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาใน แต่ละด้านพบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านครูผู้สอน และด้านเนื้อหา สำหรับด้านที่พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล

References

ณัฐนันท์ แสนเรือน. (2556). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการวาดแบบจำลอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประถมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนาวีย์รัต คุปตวุฒินันท์. (2558). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค Bar Model. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นวลฤทัย ลาพาแว. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เมติตา สงขำ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ Missouri ร่วมกับเทคนิควาดรูปบาร์โมเดลที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุดาพร ไทยเหนือ. (2554). บาร์โมเดล (Bar Model). (Online). Available: http://www.vcharkarn.com/ journal/view/1944 (2015, November 20).

สุพัตรา เส็งเอี่ยม. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลเรื่อง การบวก ลบคูณ และหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Kevin, M. (2012). Singapore's Math Training. (Online). Available:http://www.singaporemath.com /Articles.asp? ID=281 (2015, November 12).

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022