การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ เรืองโสม -
  • บุญเหลือ บุบผามาลา

คำสำคัญ:

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, การมีส่วนร่วม, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม  เพื่อเปรียบเทียบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลน้ำโสม โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาล ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ

 ผลการวิจัย พบว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.20, S.D.= 0.12) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักประสิทธิภาพ (= 4.27, S.D.= 0.34) รองลงมา คือ ด้านหลักความเสมอภาค               (= 4.26, S.D.= 0.37) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักประสิทธิผล (= 4.12, S.D.= 0.31)

การเปรียบเทียบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีความเห็นเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม ไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรมีการประเมินผลการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

ทิพาวดี เมฆสวรรค์ และคณะ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 พร้อมคาอธิบายรายมาตราและพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จากัด.

พระปิยวัฒน์ ปิยสีโล (จักร์แต). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม 2540, หน้า 1-99.

สำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ข้อมูลพื้นฐานด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำ.

สุรินทร์ธร ศิธรกุล. (2557). ผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022