คุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปัณณทัต สามิบัติ -
  • ชาญยุทธ หาญชนะ

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการสาธารณะ, พนักงาน, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 397 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ

ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.78, S.D.= 0.54) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ (= 3.87, S.D.= 0.71) รองลงมาคือด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (= 3.77, S.D.= 0.73) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ (= 3.29, S.D.= 0.68) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวม พบว่า ระดับการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านเพศ อายุ และอาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ควรกำหนดระบบและกลไกการบริหารจัดการให้เหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่บริการ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของการให้บริการ และยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการให้ดีมากขึ้น

References

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2552). คุณภาพการให้บริการภาครัฐ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ 7, 1 (มกราคม-เมษายน 2552): 105-145.

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2551-พ.ศ. 2555). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

ฎายิน วงศ์หงษ์. (2550). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการกลุ่มงานปกครองของนักปกครองระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุนารี แสนพยุห์. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์สาขารัฐศาสตร์การปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อำนวย บุญรัตนไมตรี และนิพนธ์ ไตรสรณะกุล. (2558, กรกฎาคม-ธันวาคม). การบริหารงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีการบริหารเทศบาลตามมาตรฐานการจัดทำบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 17(2): 93-108.

อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. (2563). ข้อมูลทั่วไปของอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น.อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 17(2): 93-108.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of marketing 64, Spring: 12-40.

Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper & row.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022