การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรม

ผู้แต่ง

  • เอกลักษณ์ เพ็งพรหม นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, พรหมวิหารธรรม, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรม ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรม เป็นการบริหารบนพื้นฐานปรัชญาทวินิยม คือ บริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตใน 2 มิติ คือ มิติทางกายและมิติทางใจ โดยเริ่มต้นจากมิติทางใจ ได้แก่ เพื่อบ่มเพาะให้เกิดความรักในตนเองและเพื่อนร่วมงาน รักในงานที่ทำ ปรารถนาซึ่งผลลัพธ์อันก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ทุกคนในองค์กร มีจิตเกื้อกูล มีน้ำใจ มีความอ่อนโยน พร้อมให้การยกย่องและสนับสนุนทุกคนบนพื้นฐานมุทิตาจิต มีใจที่มั่นคงหนกแน่น ไม่ไหลเอนไปตามอคติหรืออารมณ์ที่เอนเอียง ไม่ว่าจะเป็นความเอนเอียงเพราะพอใจ ความเอนเอียงเพราะไม่พอใจ ความเอนเอียงเพราะกลัว และความเอนเอียงเพราะหลงผิด ส่วนมิติทางกาย ได้แก่ การลงมือกระทำและพูดในสิ่งที่จะทำให้เกิดการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่คนในองค์กร สร้างความเข้าใจ สร้างแนวทาง สร้างกำลังใจด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เติบโต และพัฒนาต่อยอดคุณภาพชีวิตของคนในองค์กร สร้างระบบการบริหารที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความเป็นธรรมทั้งในทางนิติธรรมและจริยธรรม ก่อให้เกิดองค์กรที่มั่นคง สมดุล และยั่งยืน 

References

กัณฑ์พงษ์ นามเสน่ห์. (2559). การปรับใช้หลักพรหมวิหาร 4 กับการบริหารบุคลากร. Journal of Roi Kaensarn Academi. ปีที่ 1. ฉบับที่ 2. (กรกฎาคม-ธันวาคม).

กุลชลี พวงเพ็ชร์. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ปทุมธานี: ยูโอเพ่น.

ไชยเดช ผลาวงศ์. (2560). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรมวิหาร 4. Journal of Roi Kaensarn Academi. ปีที่ 2. ฉบับที่ 1. (มกราคม-มิถุนายน).

ฎากร นามแก้ว และคณะ. (2564). การบริหารความขัดแย้งของบุคลากรโดยการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อําเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตรอยเอ็ด. ปีที่ 1. ฉบับที่ 1. (มกราคม-เมษายน).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552ก). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

. (2552ข). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พระมหาชัยวัฒน์ จตฺตมโล(พรหมสนธิ). (2560). กระบวนการและหลักการบริหารงานบุคคลที่เหมาะสมตามหลักพรหมวิหารสี่. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์. ปีที่ 1. ฉบับที่ 1. (มกราคม-พฤษภาคม).

โสมจิราวดี จำปาสิทธิ์. (2563). การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏบิัติหน้าที่ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ 5. ฉบับที่ 1. (มกราคม).

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022