การศึกษาเชิงเปรียบเทียบหลักธรรมคำสอนที่ส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบสร้างสรรค์ศิลปกรรมในพุทธศาสนาของนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน : กรณีศึกษาวัดถ้ำอชันต้า รัฐมหารัชฏะ ประเทศอินเดีย

ผู้แต่ง

  • บวรรัตน์ คมเวช สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักธรรมคำสอน, พุทธศาสนานิกายเถรวาท, พุทธศาสนานิกายมหายาน

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเชิงเปรียบเทียบหลักธรรมคำสอนที่ส่งผลต่อการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน: กรณีศึกษาถ้ำอชันตา รัฐมหารัชฏะ ประเทศอินเดีย” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนที่ส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในนิกายเถรวาทกรณีศึกษาถ้ำอชันตา รัฐมหารัชฏะ ประเทศอินเดีย 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนที่ส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในนิกายมหายานกรณีศึกษาถ้ำอชันตา รัฐมหารัชฏะ ประเทศอินเดีย 3) เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบหลักธรรมคำสอนที่ส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนา ในนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน กรณีศึกษาถ้ำอชันตา รัฐมหารัชฏะ ประเทศอินเดีย

ผลการวิจัย พบว่ามีหลักธรรมคำสอนในนิกายเถรวาทและนิกายมหายานที่ส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาให้มีลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างอย่างมีพัฒนาการร่วมกัน โดยหลักธรรมคำสอนที่ส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในนิกายเถรวาทและมหายานให้มีลักษณะเหมือนกัน ได้แก่ พุทธประสงค์ให้พุทธบริษัทหมั่นปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชาจักได้อานิสงค์สูงสุดและเพื่อให้พุทธศาสนามั่นคงสถาพรสืบต่อไป, พุทธานุญาติให้ภิกษุจำพรรษาได้ในถ้ำคูหา, พุทธโอวาทให้พุทธบริษัทหมั่นจาริกสักการะเจติยะเพื่อจักได้ไปสวรรค์, ไตรสิกขา คือ ทาน ศีล ภาวนาและวิมุตติอย่างยิ่ง จักสามารถไปนิพพานได้, สัมมาสมาธิในอริยสัจ4, ไตรลักษณ์, นิรมานกาย, พุทธประวัติและชาดก, พุทธเกษตรของนิกายเถรวาท, ธรรมกายของนิกายเถรวาทและธรรมกายของนิกายมหายาน, การปฏิบัติธรรมแบบอานาปานสติและตถาคตครรภ์ของนิกายมหายานและหลักธรรมคำสอนที่ส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในนิกายเถรวาทและนิกายมหายานให้มีความแตกต่างกันอย่างมีพัฒนาการร่วมกัน ได้แก่ การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า, พระธยานิพุทธเจ้า, การให้ความสำคัญในการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์, สุขาวดีพุทธเกษตรในแบบมหายาน, ธรรมกายและสัมโภคกายของมหายาน จะเห็นว่าในยุคเถรวาทหรือยุคแรก เน้นหลักธรรมคำสอนที่ส่งผลให้ศิลปกรรมมีความงดงามบริสุทธิ์เรียบง่ายเพื่อการสื่อสารถึงนัยยะสำคัญของหลักธรรมคำสอนดั้งเดิมอย่างตรงไปตรงมาและรักษาแก่นแห่งสัจจะธรรมให้คงอยู่อย่างมั่นคงสืบไป ส่วนในยุคมหายานหรือยุคที่สอง นอกจากถือหลักธรรมคำสอนอันบริสุทธิ์ดั้งเดิมดังในยุคเถรวาทร่วมกันแล้ว ยังเกิดแนวคิดในการออกแบบประยุกต์สร้างสรรค์เพื่อการอธิบายขยายความ แจกแจงใส่รายละเอียดเพิ่มเติมลงไปในหลักธรรมคำสอนอย่างลึกซึ้ง ด้วยจินตนาการการออกแบบสร้างสรรค์และความสามารถในชั้นเชิงช่างทางศิลปะอันเยี่ยมยอดและเปี่ยมด้วยจิตอันบริสุทธิ์แห่งศรัทธาในสัจจะธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่าที่ศักยภาพอันสูงสุดของมนุษย์พึงกระทำได้

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิเสถียร พันธรังสี. (2554). วิเคราะห์ประวัติและผลงานศาสตราจารย์พิเศษเสฐียร พันธรังษี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2551). ประวัติศาสตร์ศิลปะ 1 :ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,

ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล. (2557). หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ฉบับวิชาการ. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

คณะศิษยานุศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ. (2555). รวมพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร). กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไทย.

พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุต.โต). (2542). กรณีธรรมกายเอกสารเพื่อธรรมวินัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระยาอนุมานราชธน, เสถียรโกเศศ. (2515). ศิลปสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณาคาร.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2546). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

เผยแพร่แล้ว

18-06-2022