การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง, สังคมไทยบทคัดย่อ
ปัญหาการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม จิตวิญญาณ สติปัญญาและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดความเจ็บป่วยเป็นปัญหาการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปรัชญา มีวัตถุประสงค์เพื่อตีความการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักปรัชญากระบวนทรรศน์ 5 และเพื่อวิจักษ์และวิธานการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเป็นแนวคิดที่เน้นการพึ่งตนเองด้านสุขภาพด้วยการดูแลและป้องกันความเจ็บป่วยที่ไม่ลดทอนคุณค่าตนเอง ไม่ยึดมั่นถือมั่น มีวิจารณญาณ และมีความเอื้ออาทรอย่างกล้าหาญ เพื่อการพัฒนาตนเองให้เกิดสภาวะความสุขที่มั่นคงและยั่งยืน และเข้าถึงคุณค่าแท้ของชีวิต การประยุกต์ใช้มีดังนี้ 1. ใช้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาพกายด้วยการป้องกันการเกิดโรคและความเจ็บป่วยด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเอง 2. ใช้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาพจิตใจด้วยการให้ความสำคัญกิจกรรมทางปัญญาและการอธิบายสาเหตุของพฤติกรรม 3. ใช้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาพจิตสังคมด้วยการประสานความสัมพันธ์อันส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดีและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมั่นคง 4. ใช้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาพจิตวิญญาณด้วยการมีความเชื่อ ความศรัทธาและการทำความเข้าใจจิตเดิมแท้ของมนุษย์ภายใต้เงื่อนไขการมีตัวตนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า 5. ใช้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาวะทางสติปัญญาด้วยการศึกษาให้รู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ และมั่นใจในเหตุและผลที่เกิดขึ้น และ 6.ใช้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการดูแลสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม จิตวิญญาณ และสติปัญญาไปพร้อมๆ กับการดูแลสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันด้านสุขภาพอย่างสมดุลและกลมกลืน สังคมไทยมีรากเหง้าทางประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลายและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน การดูแลสุขภาพของคนไทยจึงอิงอาศัยความเชื่อ ความเคารพ และความศรัทธา การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในบริบทสังคมไทยมีวิธีการที่หลากหลาย และเป็นทรรศนะทางความคิดของบุคคลในการใช้ชีวิตที่สามารถดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างสมดุลและกลมกลืน และนำไปสู่สังคมสุขภาวะที่มั่นคงและยั่งยืนได้
References
กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
. (2546). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มสาม ย้อนอ่านปรัชญายุคกลางของมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.
.(2549). อรรถปริวรรต คู่เวรคู่กรรม ปรัชญาหลังนวยุค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉลียว ปิยะชน. (2537). อายุรเวช ศาสตร์แห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
พัฒนา กิติอาษา. (2549). พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม (โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (บก.)). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
เมธา หริมเทพาธิป. (2559). “การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค”. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รวิช ตาแก้ว. (2557). ความดีงาม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วิเศษ แสงกาญจนวนิช และเอนก สุวรรณบัณฑิต. (2559). การวิเคราะห์การแพทย์แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต: ระดับใหม่ของสังคมที่ดีขึ้น. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุภาพร คชารัตน์. (2560). จาก “สุขภาพ” สู่ “สุขภาวะ” : การปฏิรูประบบสุขภาพของวงการสาธารณสุขไทยส่วนหนึ่งในดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “การสถาปนารัฐเวชกรรมผ่านโฆษณาชุดเสริมสร้างสุขภาวะในประเด็นชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)”. หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาสหวิทยาการ. วิทยาลัยสหวิทยาการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ. (2560). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ.
สุดธิณีย์ ทองจันทร์. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยด้วยหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565 จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/244040.
Housman J & Odum M. (2015). Essential concepts for healthy living. 7th ed. Burlington. MA: Jones & Bartlett Learning.
O'Farrell, C. (2007). Michel Foucauil. London: Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.