ปัจจัยพลังอำนาจของชาติด้านเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • เมธา หริมเทพาธิป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พจนา มาโนช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วราภรณ์ พงศ์ธรพิสุทธิ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปรียะพงษ์ คุณปัญญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปัจจัยพลังอำนาจ, พลังอำนาจของชาติ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปรัชญามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เสริมสร้างปัจจัยพลังอำนาจของชาติด้านเศรษฐกิจ และเป็นสร้างความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล สังคม และประเทศ ผลการศึกษาพบว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีพลังอำนาจในการยกระดับความสามารถในดำรงชีพ และเสริมสร้างปัจจัยพลังอำนาจของชาติด้านเศรษฐกิจ เป็นศาสตร์ปรัชญาประยุกต์สาขาหนึ่งที่ใช้วิธีการแบบสหวิทยาการเพื่อการแก้ไขปัญหาตามความรู้พื้นฐานในมิติทางประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุผลว่า พลัง คือ ภาวะการทำการของแต่ละปัจจัยที่มีพลังทำการใน 2 ลักษณะ คือ ผู้ทำการและผู้ถูกกระทำ ปัจจัยพลังอำนาจของชาติด้านเศรษฐกิจทั้ง 7 ปัจจัยสอดคล้องกับปัจจัยพลังอำนาจของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ ปัจจัยด้านภาวะประชากร ปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยด้านลักษณะประจำชาติ ปัจจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทูต และปัจจัยด้านการศึกษา และเสริมด้วยปัจจัยประวัติศาสตร์ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่ได้จากศึกษาครั้งนี้ การอภิปรายผลพบว่า สอดคล้องและสนับสนุนกับข้อค้นพบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในแง่การประยุกต์ใช้ในระดับบุคคล สังคม และประเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานในสร้างพลังอำนาจของชาติด้านเศรษฐกิจ

References

กีรติ บุญเจือ และคณะ. (2558). ลักษณะหลังนวยุคในทฤฎีความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ. รายงานการวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

.(2546ก). ชุดเซนต์จอห์น สอนปรัชญาภาษาง่าย เล่มต้น ปรัชญาประสาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.

.(2549). อรรถปริวรรต คู่เวรคู่กรรม ปรัชญาหลังนวยุค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

.(2545ก). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น เริ่มรู้จักปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เซนต์จอห์น.

.และสิริกร อมฤตวาริน. (2561). ปรัชญาธรรมาภิบาลที่พบได้ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ. รายงานวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2560). การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช 2493-2549 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จิรโชค วีระสัย. (2543). สังคมวิทยาการเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2558). หลักคุณภาพในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับปรัชญาหลังนวยุค: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2564). รัฐศาสตร์ : ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราโมท หม่อมศิลา. (2561). คุณภาพชีวิตของทหารไทยตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พลตรีธรรมนูญ วิถี. (2559). แนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

เมธา หริมเทพาธิป. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยปรัชญาหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. รายงานการวิจัย, สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รวิช ตาแก้ว และคณะ. (2561). ปรัชญาสหวิทยาการที่สนับสนุนพระปฐมบรมราชโองการ. รายงานการวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิทย์ วิศทเวทย์. (ม.ป.ป.). จริยศาสตร์: มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: อักษรทัศน์.

วิเศษ แสงกาญจนวนิช และ อเนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). ความชอบธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะปรัชญาเพื่อการพัฒนาชาติ. รายงานการวิจัย, สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศิริพันธ์ ถาวรทวีวงศ์. (2543). ประชากรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิโรตน์ ภาคสุวรรณ์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2560). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).

สำนักราชเลขาธิการ. (2538). ประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ปีพุทธศักราช 2538. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สิริกร อมฤตวาริน. (2558). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขแท้ตามความเป็นจริง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุดารัตน์ น้อยแรม. (2561). หลักพอเพียงเชิงปรัชญาหลังนวยุคสายกลางในภาคปฏิบัติ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุเมธ เมธาวิทยกุล, รศ. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฝฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2560). ยั่งยืน มีความสุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง : หนึ่งทศวรรษครึ่งแห่งการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อภิชัย พันธเสน, สรวิชญ์ เปรมชื่น และพิเชษฐ์ เกียรติเดชปัญญา. (2546). การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Best, S. and Kellner, D. (1999). Postmodern Theory. New York: The Guilford Press.

Earle, W. J. (1992). Introduction to Philosophy. New York: McGraw-Hill.

John Passmore. (1975). A Hundred Years of Philosophy. [Online]. Retrieved from: https://www. amazon.com/Hundred-Years-Philosophy-John-Passmore/dp/B007BWJHR2

Kuhh, T.S. (1970). The Structure of Scientific Revolution. Chicago: University of Chicago Press.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023