การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ที่ได้จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค LT

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ รอดทอง หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • วีณา ซุ้มบัณฑิต หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค LT               2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คนและชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน รวมนักเรียนทั้งหมด 60 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Ramdom Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD           วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน 4) แบบทดสอบวัดความ สามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน แบบอัตนัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่า เทคนิค LT 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

จิรัชญา ทิขัตติ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือ แบบ เอส ที เอ ดี (STAD) และการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิสมัย วีรยาพร. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดแก้ปัญญาและความพึงพอใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 เรื่องสมการและการแปลผันชั้นประกาศนียบัตร วิชาชีพ ปีที่ 1 ที่แบบร่วมมือ (LT) กับที่เรียนปกติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฤชามน ชนาเมธดิสกร. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ Polya ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิลาสินี เวียงอินทร์. (2561). การส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับสื่อสังคมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของ เยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุภณิตา ปุสุรินทร์คำ. (2549). การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นชุมชนนักปฏิบัติของครูในโรงเรียนที่เข้าร่วม ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งโรงเรียนในฝันของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

JohnVon, D.W., JohnVon, R.T. and HolXbec, E. J. (1990). The NXWV and BolWV of CooSeUaWiYe LeaUning. MinneVoWa: InWeUacWion Book ComSan.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. 2nd ed. Massachsetts: A Simom & Schuster.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023