การพัฒนาจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พูนศักดิ์ กมล วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาจริยธรรม, คุณธรรมจริยธรรม, ผู้นำท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาการพัฒนาจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้วิธีการแบบศึกษาเอกสารที่ปรากฏถึงเรื่องการพัฒนาจริยธรรมของผู้นำ โดยเป็นการวิเคราะห์การพัฒนาจริยธรรมด้วยการจัดกิจกรรมและแสดงให้เห็นถึงหลักคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้นำท้องถิ่นการพัฒนาจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่น เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าผู้นำท้องถิ่น คือ ฐานในการปกครองที่จะสามารถแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมมากกว่า เพราะการพัฒนาที่ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ก็จะต้องพัฒนาจากฐานรากที่เรียกว่าท้องถิ่นเป็นสำคัญและจำเป็นมากที่ต้องพัฒนาท้องถิ่นก่อน ดังนั้น จากการลงพื้นที่ปฏิบัติการในเรื่องของการสร้างหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมและรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้นำท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ สามารถสร้างผู้นำชุมชนในระดับที่เป็นต้นแบบให้กับชุมชนได้เป็นที่ยอมรับและเคารพศรัทธาผู้นำมากกว่าที่จะมีความหวาดกลัว จึงทำให้ชุมชนนั้นๆ เกิดเป็นชุมชนสันติธรรมที่มีความเคารพซึ่งกันและกัน และมีหลักของศีลธรรมจริยธรรม ในการปกครองชุมชนของตนเอง และฝึกอบรมผู้นำรุ่นใหม่ให้มีคุณธรรมจริยธรรมสืบไป

      

References

ประเวศ วะสี. (2540). พระสงฆ์กับการรู้เท่าทันสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน,

สิริกร ไชยมา. (2544). ภูมิปัญญาในวิถีชีวิตชาวล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนรองกวางอนุสรณ์,

สมัคร สุพรรณรัตน์. (2539). ปรัชญาและแก่นสารเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคคลครอบครัว องค์กรชุมชนและสังคม. วารสารวัฒนธรรมไทย. ปีที่ 33 ฉบับที่ 4 มกราคม 2539.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุต ปยุตโต), (ม.ป.ป.) หน้าที่ความเป็นกัลยาณมิตร ลักษณเพื่อนชั่ว-เพื่อนดี. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม.

ปัญญานันทมุนี, (ม.ป.ป). ทางสายกลาง. นนทบุรี: ศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา วัดชลประทานรังสฤษฏ์.

วิโรจ นาคชาตรี และคณะ (2548), ปรัชญาเบื้องต้น, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทะ). (2550). 96 ปี ปูชนียบุคคลแห่งแผ่นดินไทย. นครปฐม: ระฆังทอง.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023