การปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การปฏิบัติงาน, งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้าน ทั้งหมด 370 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนในการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
ผลการวิจัย พบว่า
การปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.36, S.D.= 0.57) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (= 3.45, S.D.= 0.76) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (= 3.34, S.D.= 0.66) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (= 3.29, S.D.= 0.68)
การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน เห็นว่าการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ด้านอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ อายุ และระดับการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2548). คู่มือแนวทางการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.
.(2558). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.
.(2558). พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และอนุบัญญัติ. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.
จิรนนท์ พุทธาและจาลอง โพธิ์บุญ. (2561). การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต. 19 (1), 31 - 44.
ชูวงศ์ อุบาลี และคณะ. (2557). การบริหารจัดการปัญหาความมั่นคงพื้นที่ชายแดนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชายแดนจังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
พรสรวง เถาตะกู. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, ภาควิชาจิตวิทมหาวิย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศวรรณ ศิลปะนครฤทธิ์. (2553). การพัฒนาการบริหารจัดการสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตาบลลาดยาว อำเภอลาดยาวจังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Taro Yamane. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.