ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราว องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ศรายุทธ อินตะนัย หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • กฤษยา ภู่มงคลสุริยา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ปัจจัย, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราวองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภูกับปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีทางสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test (One way ANOVA) โดยการเปรียบเทียบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD

          ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราวองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อันดับแรก คือ ด้านลักษณะงานที่ให้ผลประโยชน์ต่อสังคม รองลงมา คือ ด้านการบูรณาการทางสังคมถัดมา คือ ด้านสิทธิในการทางาน ด้านความสมดุลในชีวิต ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและพอเพียง ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถและเพิ่มศักยภาพของบุคคลและอันดับสุดท้าย คือ ด้านสภาพการทางานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทางานของข้าราชการสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ต่อเดือน และสถานภาพสมรสต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในการทางานโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ทิพวรรณ ศิริคณู. (2542). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ:กรณีศึกษา บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิตและคนอื่นๆ. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : ธรรมดาเพลส จำกัด.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

วธู สวนานนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันของพนักงานต่อองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรชนก ศรีขำ. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานห้างเทสโก้โลตัส. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

ณัฐณิชา ปิยะปัญญา และวิรัช สงวนวงศ์วาน. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วัชรีเนตร วุฒานุสรณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.

ภณิตา กบรัตน. (2556). คุณภาพชีวิตการทางานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ศึกษาเฉพาะกรณีกองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจสันติบาล. สารนิพนธ์รัฐประศาตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

รัตนาภรณ์ บุญมี. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลนาดี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิภา หวันแหล่ะ. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จิตราภรณ์ กำเนิดเรือง. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสานักงานใหญ่ กรณีศึกษาบริษัทโฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน). สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกริก.

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022