การให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร ฐานขันแก้ว หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • บุญเหลือ บุบผามาลา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การให้บริการ, เทศบาลตำบล, ประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการของเขตเทศบาลตำบลแสงสว่าง เพื่อเปรียบเทียบการให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่าง และเพื่อเป็นแนวทาง การปรับปรุงการให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่างอำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแสงสว่าง จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไป สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบการให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ

          ผลการวิจัย พบว่า การให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี             โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.07, S.D.= 0.26) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (= 4.25, S.D.= 0.34) รองลงมาคือด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้มารับบริการ (= 4.08, S.D.= 0.46) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการตอบสนองต่อผู้บริโภค (= 3.96, S.D.= 0.61)

          ผลการเปรียบเทียบการให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี              ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่าประชาชนที่มีอายุ และระดับการศึกษาที่ต่างกัน             มีความคิดเห็นต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอาชีพ ที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน

          ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุงการให้บริการของเทศบาลตำบลแสงสว่างอำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ เทศบาลตำบลแสงสว่าง ควรสร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้รู้สึกกระตือรือร้นในการบริการ เช่น สวัสดิการต่างๆ สันทนาการ

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). มาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2552). คุณภาพการให้บริการภาครัฐ : ความหมายการวัดและการประยุกต์ในระบบบริหารภาครัฐไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 7(1), 105-146.

จินตนา บุญบงการ. (2539). การสร้างจิตสํานึกการให้บริการกับการปรับปรุงการบริการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: ฟอร์แมทพริ้นติ้ง.

วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2548). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็คยูเคชั่น.

สมิต สัชฌุกร. (2548). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

วิวิศนา ทับทิม. (2556). คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้เทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), (มกราคม-มิถุนายน 2556): 90-99.

ศิริวรรณ จุลแก้ว, โศภิน สุดสะอาด และชัชฎาภรณ์ บุญชูวงศ์. (2556). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556): 61-67.

Bloom B.S. (1968). Mastery learning. UCLA-CSEIP Evaluation Comment. 1 (2) Losangeles. University of California at Los Angeles.

Bitner, M.J. (1995). Building service relationships: It’s all about promises. Journal of the Academy of Marketing Science, 23, 246-251.

Buzzell, R.D. & Gale, B.T. (1987). The PIMS principles. New York: The Free Press.

Cronin, J.J. & Taylor, S.A. (1992). Measuring service quality: A reexamination and extension. Journal of Marketing, 56(7), 55-68.

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022