การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, หลักธรรมาภิบาล, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล และเพื่อเป็นข้อเสนอแนวทางเสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลหนองวัวซอ จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไป สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองวัวซออำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองวัวซออำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.50) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือหลักความคุ้มค่า (= 3.79) รองลงมาคือด้านหลักการมีส่วนร่วม (= 3.69) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักความรับผิดชอบ (= 3.17) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีอายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนวทางเสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ ได้แก่ เทศบาลตำบลหนองวัวซอ ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่ององค์กรมีการกำหนดแผนปฏิบัติงานตามความสำคัญเร่งด่วนในการพัฒนาหน่วยงานและปฏิบัติงานตามแผนงาน
References
กัลยาณี ประสมศรี, มณฑา ชาวโพธิ์ และวรวิสรา รูปสวย. (2555). ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการน้ำชลประทานในมุมมองของผู้รับริการ. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายกองแผนงาน กรมชลประทาน.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัญช์ อินทนู. (2550). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการศึกษาอิสระหลักสูตรรัฐประศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บวรศักดิ์ อวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ประธาน ศิริไพบูลย์. (2547). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเขตการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปราชญา กลาผจัญ และคณะ. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.
Maslow, A.H. 1954. Motivation and personality. 2nd ed. New York: Harper & Row.
Oliver et al. (1996). Quality of life and Mental Health Service. London: Routledge, the Pursuit of Happiness.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.