การเสริมสร้างสติพิจารณาด้วยหลักอภิณหปัจจเวกขณ์

ผู้แต่ง

  • พระครูมุนินท์จริยานุรักษ์ (สุรพล โกสิวาล) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระศรีวินยาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • อำพล บุดดาสาร วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างสติพิจารณา, อภิณหปัจจเวกขณ์, ความเป็นจริงของชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างสติพิจารณาด้วยหลักอภิณหปัจจเวกขณ์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ             1) เพื่อศึกษาการเจริญอภิณหปัจจเวกขณ์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเสริมสร้างการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ 3) เพื่อบูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “บูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า อภิณหปัจจเวกขณ์ คือธรรมที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เพื่อให้จิตยอมรับความจริงที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตทุกคนและยอมรับความเป็นจริงของชีวิต จนนำไปสู่การปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น  ยิ่งพิจารณาได้มากหรือบ่อยเท่าใด จิตก็ยิ่งปล่อยวางได้มากเท่านั้น เมื่อเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตแล้ว จะดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท การเสริมสร้างสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยการพิจารณาเรื่องธรรมดา 5 ด้าน คือความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักและการมีกรรมเป็นของๆ ตน เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นยอมรับและกล้าเผชิญสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต พิจารณาจนเกิดเป็นสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีจิตมั่นคง มีจิตใจสงบ ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาททั้งยังก่อให้เกิดคุณค่าต่อตนเอง ต่อสังคมและพระพุทธศาสนา

          รูปแบบบูรณาการการเสริมสร้างสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ทำให้ดำเนินชีวิตอยู่ โดยอาศัยสติปัญญาเป็นเครื่องนำทางจนเข้าถึงความจริงของชีวิต เกิดปัญญานำพาชีวิตให้มีความสุขจากการเข้าใจถึงหลักธรรมชาติโดยสรุปเป็นองค์ความรู้ คือ NSKTA MODEL

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถ พุทธศักราช 2539. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พระมหาบุญเลิศ ฐานทินฺโน. (2547). อริยวินัย รวบรวมจากพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

วศิน อินทสระ. (2537). สัจจะอันประเสริฐ. กรุงเทพฯ: คอนเซ็ปต์ไลน์.

น้ำนิตย์ ตันติศิริวัฒน์. (2557). การบรรเทาทุกข์ตามแนวสติปัฏฐาน 4. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

แม่ชีภคพร ธรรมญาณี. (2556). ศึกษาแนวทางการใช้หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในการฝึกจิตผู้สูงวัย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พร รัตนสุวรรณ. ธรรมะบรรยายเรื่อง “อภิณหปัจจเวกขณ์”. สืบค้นวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.archive.org/ details/pondrattana_apin.

สุชาติ เผือกสกนธ์” เมตตาบารมีบารมีที่สะสมได้ง่ายแต่มีผลานิสงส์สูง. สืบค้น 23 ตุลาคม 2563, จาก http://www.cdthamma.com/ text/t0 13.htm.

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022