นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัย
คำสำคัญ:
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา, การสื่อสารร่วมสมัย, นวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมสมัยบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในยุค 4.0 อันประกอบไปด้วย Social Media ที่ทำให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ Internet of Things เป็นส่วนขยายที่เพิ่มช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์หรือวัสดุการสอน ทำให้การจัดการเรียนรู้ตอบสนองความแตกต่างของบุคคล และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดการศึกษาในปัจจุบันเป็นการสื่อสารร่วมสมัย ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เป็นการสื่อสารสองทาง เป็นสื่อไร้ตัวตน มีต้นทุนในการเข้าถึง ไม่สามารถปิดกั้นได้ และนับวันการสื่อสารแบบนี้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว ครูผู้สอนสามารถจัดคอร์สเรียนออนไลน์ได้ไม่ยาก เพราะการสนทนากับผู้เรียน การส่งไฟล์งาน การอภิปรายกลุ่มสามารถทำได้ เพียงแค่นักเรียนมี smart phone นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Applications ที่สะดวกและน่าสนใจโดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนอีกต่อไป ยิ่งกว่านั้นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันยังเอื้อให้มีการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายทุกที่ ทุกเวลา บทบาทของครูและนักเรียนเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้สอน (passive learning) มาเป็นผู้ชี้แนะและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในวิธีที่แต่ละคนถนัดอย่างกระตือรือร้น (active learning) นอกจากนี้แล้วปัจจุบันเรายังมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มีการเรียนรู้ออนไลน์ เป็นต้น นวัตกรรมเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพ ครูผู้สอนจึงต้องปรับเปลี่ยน รูปแบบในการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงการสอนคุณธรรมจริยธรรม และสร้างเสริมทักษะให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตเอาตัวรอดอยู่ในยุคดิจิทัลอย่างเหมาะสม
References
กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/9PaIK [30 กันยายน 2564].
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตด้านการศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/MGPgE [3 ตุลาคม 2564].
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 1(1): 46-70.
ปิลันธนา สงวนบุญญพงษ์. (2542). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี). (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พรเทพ เมืองแมน. (2544). การออกแบบและพัฒนา CAI Multimedia ด้วย Author ware. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วณิชา พึ่งชมภู, ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์ และบำเหน็จ แสงรัตน์. (2560). การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา พยาบาล: การสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนในกระบวนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาร. 44 (พิเศษ): 103-110.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิธีการจัดการห้องเรียน Virtual Classroom ด้วยโปรแกรม ZOOM (สำหรับผู้สอน). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/oanXd [6 ตุลาคม 2564].
สุภาณี เส็งศรี. (2561). วิธีวิทยาการสอนคอมพิวเตอร์: สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสาระเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อิสระ กุลวุฒิ สุรีพร อนุศาสนนันท์ และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2560). รูปแบบการประเมินผลระหว่างเรียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(2): 21-33.
Academic Library: A Management Handbook. (1988). USA: Greenween Press.
Kommers, P. Social Media for Learning by Means of ICT. [Online]. Retrieved from: https://shorturl. asia/DLZrE [29 กันยายน 2564].
Mason, R. and Rennie. F. (200). E-Learning and Social Networking Handbook: Resources for Higher Education. New York: Routledge.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.