การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ พิพิทธภัณฑ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • โกศล สอดส่อง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนายูง โดยคำนวณจากใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน 353 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบไป ด้วยเนื้อหา 3 ส่วน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

          ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.97, S.D.= 0.48) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักความคุ้มค่า (= 3.90, S.D.= 0.69) รองลงมา คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ (= 3.87, S.D.= 0.80) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักการมีส่วนร่วม (= 3.73, S.D.= 0.72) ผลการเปรียบเทียบ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนวทางพัฒนา การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนายูงอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรมีมาตรการ ในการส่งเสริมจริยธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การอบรมด้านจริยธรรม การให้รางวัลแก่ผู้ประพฤติดีและลงโทษผู้ที่กระทำการทุจริต

References

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, ตุลาคม 9). ราชกิจจานุเบกษา, 120 (100 ก): 4

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2559). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2534). พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. New Delhi: Wiley Eastern.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Fukflang, S. (2014). Staff understands on management according good governance at Thahong Sub-district Administrative Organization, Sawankhalok District, Sukhothai Province. Thesis of Master of Education. Thongsook College. (in Thai).

Maslow, Abrahum H. (1970). Motivation and Personality. 2nd ed., New York: Harper and Row.

Meungpratup Phra. (2011). The administration of sub-district organization according to good governance Bangkrauy District Nonthaburi. Graduate SchoolMaster of Arts Thesis. Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (in Thai).

McClelland, David C. (1973). Testing for Competence rather than Intelligence. American Psychologist. Retrieved December 11, 2005, from www.ei. Haygroup.com.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.

Wongsriwong, P. (2015). Adaptation of good governance into management at LanKrabue Sub-district Administrative Organization LanKrabue District Kamphaeng Phet. Thesis of Master of Public Administration. Thongsook College. (in Thai).

Wongsawad, T. (2016). The administration according to good governance at ThapPhueng Sub-district Administrative Organization, Si Samrong District, Sukhothai Province. Academic Service Research Literature within the Project of Memorandum of Understanding “Sub-district Administrative Organization with Moral and Good Governance for Servicing”. Bangkok: Thongsook College. (in Thai).

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023