การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • จันทร์ทิพย์ ทองโชติ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ชาญยุทธ หาญชนะ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนา, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่พักอาศัยอยู่ในตำบลนายูง ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ

          ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.94, S.D.= 0.51) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 4.01, S.D.= 0.67) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงาน (= 3.93, S.D.= 0.63) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (= 3.89, S.D.= 0.67)

            การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ไม่แตกต่างกัน

          ข้อเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ กระตุ้นให้ประชาชนสนใจและเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ เพื่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม

References

ชินรัตน์ สมสืบ. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 5. (2), 2561: 120-135.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วิษณุ หยกจินดา.(2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตําบลทับไทร อําเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ ภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิรพณ โพธิอาภา. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของตำบลสวายปรอเตียลอำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา. วารสารวิชาการ 12. (3), 2561: 89-98.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2549). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ.

Maslow, Abrahum H. (1970). Motivation and Personality. nd ed. New York: Harper and Row.

Siroros, P., & Kamolvej, T. (B.E.2541). Kwam Kadyaeng Nai Sangkom Thai Yuk Wikruet Settakruet. Bangkok: Faculty of Political Science, Thammasat University.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.

World Bank. (2000). World Bank Report 2000/1: Attacking Poverty. Washington D.C.: World Bank.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023