รูปแบบการบูรณาการกาลามสูตรในการเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • จักรพงศ ธรรมธนภัทร มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ยุคดิจิทัล, สังคมพหุวัฒนธรรม, หลักกาลามสูตร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม              ในยุคดิจิทัล 2. ศึกษาพุทธญาณวิทยาว่าด้วยหลักกาลามสูตร 3. บูรณาการใช้หลักกาลามสูตรในการเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล 4. สร้างองค์ความรู้ใหม่รูปแบบการบูรณาการในการเสริมสร้างพหุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางปรัชญาแบบวิภาษวิธี และแบบมีการหาเหตุผลด้วยการใช้วิจารณญาณ ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญา

          ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม กระบวนทรรศน์ทางปรัชญา สังคมแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจถึงบริบท คติความเชื่อ ทั้งหมดนี้ เป็นการเชื่อมโยงและเป็นพื้นฐานของความคิด ความเชื่อของคนโดยมากในสังคม ปัญหาที่ทำให้สังคมที่อยู่ร่วมกันเกิดความขัดแย้ง หรือขาดความสามัคคีนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากทัศนคติ จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้คอยควบคุม คือ ตัวปัญญาที่เป็นตัวช่วยในการกลั่นกรองสิ่งต่างๆ โดยอาศัยหลักพุทธปรัชญา คือ หลักความจริง ด้วยการมองโลกแบบองค์รวม เป็นเหมือนการทดสอบตามหลักเหตุและผลมีกระบวนการอิงอาศัยกัน เพื่อให้คนในสังคมอยู่บนพื้นฐานความจริง หลักกาลามสูตร จึงเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความจริงมาเป็นพื้นฐานในส่งเสริมการช่วยคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ให้เกิดเป็นความจริง ความถูกต้อง ให้เท่าทันกับสังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยอาศัยการร่วมมือของประชาชน สังคม สถาบันการศึกษา เข้ามาส่งเสริมอันก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน องค์ความรู้ใหม่ ได้แก่ WMH + ECO MODEL.

References

พุทธทาสภิกขุ. (2549). ปัญหาแห่งมนุษยภาพ. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.

พระราชปัญญาภรณ์ (สิงห์คำ ชยวํโส). (2556). กระบวนการสร้างสังคมคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมภายใต้รูปแบบธนาคารความดี สำหรับหน่วยอบรมประชาชน ประจำตำบล หนเหนือ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุทัศน์ จารุธมฺโม (เย็นใจ). (2560). วิเคราะห์การพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุชาติ อนาลโย (ใหมอ่อน). (2560). เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติ: การขับเคลื่อนกระบวนการสร้างสันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (2552). การศึกษาพหุวัฒนธรรม (Multicultural education). ในสารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

อนันตชัย จินดาวัฒน์. (2556). ประวัติศาสตร์โลก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ยิปซีกรุ๊ป.

Eric Schmidt and Jared Cohen. (2557). The New Digital Age. ดิจิตอลเปลี่ยนโลก. แปล โดย สุทธวิชญ์ แสงดาษดา. กรุงเทพฯ: โพสต์บุ๊ก.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023