การบูรณาการพุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาการปฏิบัติงานของพระสงฆ์ไทยด้านสังคมสงเคราะห์ในสังคมยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระครูวรพุทธาภิรักษ์ (สมศักดิ์ เฉื่อยทอง) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, พุทธจริยศาสตร์, การปฏิบัติงานของพระสงฆ์ไทย, สังคมสงเคราะห์, สังคมยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการปฏิบัติงานของพระสงฆ์ไทยด้านสังคมสงเคราะห์ในสังคมยุคดิจิทัล 2) ศึกษาพุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย 3) บูรณาการพุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาการปฏิบัติงานของพระสงฆ์ไทยด้านสังคมสงเคราะห์ในสังคมยุคดิจิทัล 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานของพระสงฆ์ไทยด้านสังคมสงเคราะห์ในสังคมยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร           ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา

          ผลการวิจัยพบว่า การสังคมสงเคราะห์เป็นการช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่วนการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทยควรสงเคราะห์ฝ่ายจิตใจให้มีสติปัญญา รู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเองเป็นสำคัญ หลักพุทธจริยศาสตร์มีหลายข้อหลายระดับที่สามารถนำมาเป็นแนวทาง สำหรับพระสงฆ์ไทยยึดหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ พระวินัยสงฆ์ 227 ข้อ หลักปาริสุทธิศีลอันมีปาฏิโมกขสังวร อินทรียสังวร อาชีวปาริสุทธิศีลและปัจจัยนิสิตศีล อีกทั้งให้ความสำคัญแก่หลักสังคหวัตถุ 4 มีทาน ปิยวาจา อัตถจริยาและสมานัตตา การบูรณาการพุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาการปฏิบัติงานของพระสงฆ์ไทยด้านสังคมสงเคราะห์ในสังคมยุคดิจิทัลเป็นไปตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อใช้ในการพัฒนาตน การพัฒนาคน และการพัฒนางานในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคดิจิทัลการปฏิบัติงาน โดยเนื้องานด้านสังคมสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทยควรปลูกฝังหลักสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้นให้ได้ทั้งในระดับของ โลกิยสัมมาทิฏฐิและโลกุตรสัมมาทิฏฐิ องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยนี้คือ 2M (W)

References

ประทุม อังกูรโรหิต. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง สถาบันทางพระพุทธศาสนากังงานสังคมสงเคราะห์. ภาควิชาปรัชญา, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ปอนถิ่น. (2554). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมสวัสดิการ. ในสารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ (แย้มชุ่ม). (2558). การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตาม กระบวนทัศน์วิถีพุทธ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์). (2555). บูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ในการ ดำเนินชีวิตของคนไทยในสังคมปัจจุบัน. ดุษฎีนิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระครูพิทักษ์ศิลปาคม (นุชิต วชิรวุฑฺโฒ). (2563, มกราคม-เมษายน). พระสงฆ์กับงานสังคม สงเคราะห์ในสังคมไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (1): 105-114.

พระครูสาทรธรรมสิทธิ์ พระครูปริยัติกิจจากรและประเสริฐ ปอนถิ่น. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์. ในพระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์. โครงการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนราศักดิ์ วรธมฺโม. (2564, เมษายน-มิถุนายน). พุทธจริยศาสตร์ในการพัฒนามนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาจุฬาขอนแก่น. 8 (2): 27-39.

พระปลัดเมธี ปิยธมฺโม (หินใหม่). (2562). การประยุกต์ใช้ปรัชญาหลังนวยุคและพุทธปรัชญาเพื่อการเผยแผ่หลักพุทธธรรมในสังคมยุคดิจิทัล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา, คณะปรัชญาและศาสนา, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2554). เอกสารประกอบการเสวนาวิชาการเรื่อง “พระสงฆ์กับงานสังคมเคราะห์: หน้าที่หรือมิใช่”. จัดโดยศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุม 707 อาคารบรมราชกุมารี วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554.

พระมหาสันติ ฐานวโร (ประสพสุข). (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันทนีย์ วาสิกะสิน และคณะ. (2538). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023