ความเป็นเกินจริงของวัฒนธรรมการบริโภคอาหารในสังคมหลังนวยุคมองผ่านพุทธปรัชญา

ผู้แต่ง

  • พระธนบูลย์ หันมนตรี มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • กันยาวีร์ สัทธาพงษ์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ความเป็นเกินจริง, วัฒนธรรมการบริโภคอาหาร, สังคมหลังนวยุค, พุทธปรัชญา

บทคัดย่อ

  

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์เกี่ยวกับความเป็นเกินจริงของวัฒนธรรมการบริโภค อาหารในสังคมหลังนวยุค 2) ศึกษาพุทธปรัชญาว่าด้วยวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร 3) บูรณาการพุทธปรัชญา ในการแก้ปัญหาความเป็นเกินจริงของวัฒนธรรมการบริโภคอาหารในสังคมหลังนวยุค 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่ และรูปแบบการบูรณาการพุทธปรัชญาในการแก้ปัญหาความเป็นเกินจริงของวัฒนธรรมการบริโภคอาหารในสังคมหลังนวยุค เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา

          ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นเกินจริงของวัฒนธรรมการบริโภคอาหารเชิงสัญญะนี้เป็นผลลัพธ์ของการบริโภคที่เติบโตมากขึ้นจากพัฒนาการของเศรษฐกิจในระบอบทุนนิยม เป็นความก้าวหน้าด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีข่าวสาร และสังคมดิจิทัล พุทธปรัชญาว่าด้วยการบริโภคอาหารเน้นการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมและเกื้อกูลกับร่างกาย (โภชนสัปปายะ) การรู้จักประมาณในอาหารเน้นพิจารณาทั้งในด้านเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับคุณค่าและด้านปริมาณ (โภชเนมัตตัญญุตา) โดยพิจารณาทั้งก่อน ขณะและหลังการบริโภคอาหาร ตลอดถึงด้านกิริยามารยาทในการฉันอาหาร สารัตถะของการบริโภคอาหารในพุทธปรัชญามุ่งเพื่อการดำรงชีพอย่างผู้ไม่ประมาท และการมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลารวมถึงการรับและบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 อย่าง พระพุทธเจ้าได้แสดงหลักความพอดี คือ ความรู้ประมาณในการบริโภค เป็นคนเลี้ยงง่าย มีสติสัมปชัญญะในการบริโภคเสมอ ไม่ให้ตกเป็นทาสของตัณหาจนมักมากในการบริโภค ทำด้วยความพอดีของความเป็นเหตุเป็นผลที่ลงตัวให้เกิดผลดีงามตามที่มองเห็นพิจารณาอย่างแยบคายด้วยปัญญา องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยนี้คือ FCR = MWCV

References

กีรติพร จูตะวิริยะ, คำยิน สานยาวง และคำพอน อินทิพอน. วิถีการบริโภคอาหารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ เขตนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2554): 49-73.

นรินทร์พร สุบรรณพงษ์. (2555). วัฒนธรรมบริโภคนยมในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์สำหรับเด็กวัยรุ่นตอนต้น. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชสื่อสารมวลชน, คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์.

นนทวัฒน์ ปรีดาภัทรพงษ์. (2562). การเสริมสร้างพฤติกรรมในการบริโภคอาหารแนวพุทธ. วารสารบัณฑิตศึกษา ปริทรรศน์. ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม): 46-48.

พรเทพ ศิริวนารังสรรค์และคณะ. (2558). สุขภาพดี เริ่มที่คุณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สำนักสื่อสารและตอบโต้ ความเสี่ยง กรมอนามัย.

พรพนิต พ่วงภิญโญ, สัชญุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ และศราวุฒิ กมลวิจิตร. (2552). พฤติกรรมการบริโภคและการบริโภคเชิงสัญญะ กรณีศึกษาการบริโภคการแฟในร้านกาแฟย่านย่านถนนนิมมานเหมินตร์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร FEU ACADEMIC REVIEW มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม-พฤษภาคม): 41-52.

พระครูประสุตโพธิคุณ (จิภาณุ สุวรรณรงค์). (2561). ความเป็นเกินจริงในพิธีกรรมการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา มองผ่านปรัชญาหลังนวยุค. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา, คณะปรัชญา และศาสนา, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. เล่ม 16,42. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรณัฐ โรจนประภา. (2561). การนำกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุค และพุทธปรัชญามาสร้างสังคมแห่งสัมมาปัญญาในประเทศไทย 4.0. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา, วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

สันต์ สัมปัตตะวนิช และคณะ. (2559). เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวัสดิ์ อโณทัย. (2558). วิธีการสร้างความสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเซนต์จอห์น. ปีที่ 18 ฉบับที่ 22 (มกราคม-มิถุนายน): 158-172.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023