การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ประกอบการ ในการดำเนินธุรกิจในยุคหลังโควิด-19

ผู้แต่ง

  • กิตติยา โชคพรประสาท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • กันยาวีร์ สัทธาพงษ์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การดำเนินธุรกิจ, ยุคหลังโควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจในยุคหลังโควิด-19 2) ศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าด้วยการดำเนินธุรกิจ 3) บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจในยุคหลังโควิด-19 4) สร้างองค์องค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจในยุคหลังโควิด-19 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา

          ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจในยุคหลังโควิด-19 เป็นการดำเนิน ธุรกิจในยุคหลังโควิด-19 ภายใต้กรอบการปรับตัวใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านการเงิน บัญชี การลงทุน 3) ด้านการตลาด และ 4) ด้านการบริหารจัดการ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าด้วยการดำเนินธุรกิจเป็นทางสายกลางของการดำเนินชีวิตเพื่อความสมดุลประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจในยุคหลังโควิด-19 ควรมีการบูรณาการใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านการเงิน บัญชี การลงทุน 3) ด้านการตลาด และ 4) ด้านการบริหารจัดการ โดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือ องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย คือ โมเดล 3R2C4D

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประเวศ วะสี. (2541). ประชาคมตำบล: ยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ศีลธรรมและสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ปริมรดา รัตนประทุม. (2563). แนวโน้มรูปแบบการบริหารธุรกิจหลังเหตุการณ์โควิด-19. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้า, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พระครูสถิตนราธิการ (วิชาญ นราธิโป). (2561). การจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมพหุวัฒนธรรม ของคณะสงฆ์ภาค 17. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วลัยทิพย์ กิจขันธ์. (2563). โควิด-19 กับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็กในจังหวัดนครนายก. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้า, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2563). ประเทศไทยหลังโควิด-19 ตอนที่ 2: โอกาสธุรกิจและทางรอด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/ business- maker/thailand-after-covid-ep2.html. [24 พฤษภาคม 2563].

สโรชา โชติ. (2563). การปรับตัวและความพึงพอใจของผู้รับบริการธนาคารออมสินจังหวัดกำแพงเพชรในภาวะวิกฤตโควิด-19. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารจัดการธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ใต้เบื้องพระยุคลบาท. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

อำพน กิตติอำพน. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกังสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์.

โอภาส พุทธเจริญ. (2563). ตระหนัก เรียนรู้ ป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.chula.ac.th/cuinside/26952/. [4 ตุลาคม 2565].

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023