คุณค่าเชิงสัญวิทยาของความเชื่อการแก้บนของชาวพุทธไทยต่อพระพุทธโสธรตามมุมมองพุทธปรัชญา
คำสำคัญ:
สัญวิทยา, ความเชื่อการแก้บน, ชาวพุทธไทย, พระพุทธโสธร, พุทธปรัชญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสัญวิทยาของความเชื่อการแก้บนของชาวพุทธไทยต่อพระพุทธโสธร 2) ศึกษาพุทธปรัชญาว่าด้วยความเชื่อของชาวพุทธ 3) วิเคราะห์และประเมินคุณค่าสัญวิทยาของความเชื่อการแก้บนของชาวพุทธไทยต่อพระพุทธโสธรตามมุมมองพุทธปรัชญา 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบคุณค่าเชิงสัญวิทยาของความเชื่อการแก้บนของชาวพุทธไทยตามมุมมองพุทธปรัชญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยวิธีการเก็บข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ร่วมกับการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วน ในการวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในทางปรัชญาและพระพุทธศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อการแก้บนของชาวพุทธไทยต่อพระพุทธโสธรนั้นแม้โดยองค์รวมจะไม่สอดคล้องกับหลักการของพระพุทธศาสนา แต่ในส่วนย่อยกลับไม่ขัดแย้งต่อหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากว่า พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธอิทธิปาฏิหาริย์ เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่า อิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ไม่ใช่แนวทางของการเป็นที่พึ่งอันประเสริฐเพราะไม่อาจนำไปสู่ความพ้นทุกข์ในระดับโลกุตรธรรมได้ แต่เมื่อสำรวจข้อเท็จจริงในพิธีกรรมการแก้บนพบว่า ผู้ที่มาบนบานนั้นจะบนเฉพาะในกรอบของโลกิยะเท่านั้น ไม่มีผู้ใดบนขอในระดับโลกุตระด้วยตระหนักรู้ว่า สิ่งเหล่านั้นไม่อาจจะสำเร็จได้ด้วยการบนบาน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องกระทำเอง ดังนั้น ข้อคำตอบในงานวิจัยนี้ได้ตัดสินว่า การแก้บนสามารถที่จะกระทำได้โดยอยู่บนเงื่อนไขให้นำรหัสวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้าไปแทนรหัสวัฒนธรรมของศาสนาผีและพราหมณ์ที่ครอบงำสัญญะทางพระพุทธศาสนาอยู่เพื่อให้เกิดความหมายใหม่ในทางสัญญะที่ถูกต้องตามหลักพุทธปรัชญาให้เป็นสัมมาทิฏฐิ แก่ผู้มาแก้บนพระพุทธโสธร องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยนี้คือ CMW Model
References
ข่าวสด. (2562). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_3086115. [29 พฤศจิกายน 2563].
ไทยรัฐออนไลน์. (2559). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/776011. [29 พฤศจิกายน 2563].
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/ news/local/ northeast/1581410. [29 พฤศจิกายน 2563].
บ้านเมือง. (2562). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https: //www.banmuang.co.th/number/483. [29 พฤศจิกายน 2563].
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Barthes, Roland. (1970). Writing Degree Zero And Elements of Semiology. Translated from the French by Annette Lavers and Colin Smith. Boston: Beacon Press.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.