การศึกษาการบริหารงานธุรการของสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอลาดยาวตามหลักทิฏฐธัมมิกัตสังวัตตนิกธรรม 4

ผู้แต่ง

  • บัวแก้ว อินทรถา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปฏิธรรม สำเนียง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาอุดร อุตฺตโร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานธุรการ, สถานศึกษา, ทิฏฐธัมมิกัตถะสังวัตตนิกธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานธุรการของสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะสังวัตตนิกธรรม 4 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 268 คน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และสัมภาษณ์ ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานธุรการสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.58, S.D.=0.42) เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย คือ ด้านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (=4.83,S.D.=0.34) ด้านการรับ-ส่งหนังสือ (=4.65, S.D.=0.39) ด้านการร่างหนังสือ (=4.63, S.D.=0.42) ด้านการผลิตสำเนาเอกสาร (=4.68, S.D.=0.53) ด้านการจัดเก็บเอกสาร (=4.63, S.D.=0.41) ด้านการบันทึกเสนอหนังสือ (=4.53, S.D.=0.56) ด้านการตรวจทาน หนังสือ (=4.53, S.D.=0.29) ด้านการพิมพ์หนังสือ (=4.45, S.D.=0.34) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการทำลายหนังสือ (=4.28, S.D.=0.55) อยู่ในระดับมาก ในส่วนของแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานธุรการ ของสถานศึกษาของโรงเรียนนั้น ประกอบด้วย 1) ด้านรับ-ส่งหนังสือ เจ้าหน้าที่ธุรการควรติดต่อหน่วยงานโดยตรงทั้งการติดต่อสื่อสาร และการบริการ 2) ด้านร่างหนังสือ เจ้าหน้าที่ธุรการควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการร่างหนังสือและการเรียบเรียงข้อความในหนังสือ 3) ด้านพิมพ์หนังสือ เจ้าหน้าที่ธุรการให้หมั่นฝึกฝนตนเองใฝ่เรียนทางด้านการพิมพ์หนังสือ 4) ด้านผลิตสำเนาเอกสาร เจ้าหน้าที่ธุรการตรวจต้องตรวจสอบความถูกต้องฉบับจริง ฉบับร่าง และจัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบ 5) ด้านจัดเก็บเอกสาร ผู้บริหารควรแนะนำวิธีการจัดเก็บเอกสาร เพื่อไม่ให้สูญหาย 6) ด้านบันทึกเสนอหนังสือควรจัดทำตามลำดับขั้นตอนให้ถูกต้อง 7) ด้านตรวจทานหนังสือ ผู้บริหารควรส่งเสริมเจ้าหน้าที่ธุรการไปพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการตรวจทานหนังสือ 8) ด้านทำลายหนังสือ ผู้บริหารควรแนะนำให้เจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ที่ถูกต้องตามหลักของสารบรรณ 9) ด้านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายเพื่อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้และมีการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

References

กมลววรรณ บุญวัง. (2548). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปการศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชอุปถัมภ์.

จิรภาส์ เหมืองหม้อ. (2548). ชีวิตและการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาแกนนำปฏิรูปการเรียนรู้กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลลอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เฉลิมวุฒิ พลศักดิ์. (2559). เรื่องแนวทางการพัฒนางานสารบรรณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ประจักษ์ โพธิ์วัต. (2547). ความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารโรงเรียนตะคร้อพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

เพ็ญศรี สุขไชยะ. (2553). ปัญหางานสารบรรณและแนวทางแก้ไข. สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2010): กรกฎาคม-ธันวาคม, 2553): 1-12.

ภัสสรา วิภากูลและคณะ.วิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสารบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัยคริสเตียน. วารสารวิชาการ ปขมท. 9(2).

ธีระ รุยเจริญ, ปราชญา กล้าผจัญ และสัมมา รธนิธย์. (2546). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ข้างฟ่าง.

ณัฐวุฒิ ณัฏฐานภามาศ และสุชีรา มะหิเมือง. (2557). การบริหารงานธุรการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2542). การจัดระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหาร. รายงานการวิจัย, สำนักงานปฏิรูปวิชาชีพครู, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุธาสินี คำสนอง และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานสารบรรณของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

สุดารัตน์ โยธาวงศ์. (2558). การพัฒนาระบบงานสารบรรณวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). ความเป็นครู. เอกสารประกอบการสอนวิชา 1011101 ภาคพื้นวิชาการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุรินทร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2. (2564). รายงานผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา. นครสวรรค์ : สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2.

Haiman, Theo. William G.Scott, & Patrick E.Conner. (1985). Management. 4th ed. Boston: Houghton Mifflin.

Simon, H.A. (1976). Administraive behavior. New York : Macmillan.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023