บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4
คำสำคัญ:
บทบาทของผู้บริหาร, คุณธรรมพื้นฐาน, อริยสัจ 4บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทและหาแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เขต 3 ตามหลักอริยสัจ 4 ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 196 คน ด้วยแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.925 และสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทผู้บริหารในการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนในโรงเรียน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.288, S.D.=.537) พิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความประหยัด (=4.310, S.D.=.555) รองลงมา คือ ความมีวินัย (=4.296, S.D.=.556) และความสามัคคี (=4.295, S.D.=.497) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสุภาพ (=3.914, S.D.=.557) 2. แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4 มีดังนี้ 1) ด้านความขยัน นักเรียนตรงต่อเวลา ไม่มาสาย เกียจคร้าน งานไม่คั่งค้าง โดยทำเป็นสมุดบันทึกความดีมีการยกย่องชมเชย 2) ด้านความประหยัด นักเรียนใช้น้ำไฟฟ้าอย่างประหยัด มีการวางแผนใช้จ่าย ไม่สุรุ่ยสุร่ายและส่งเสริมให้ออมเงิน 3) ด้านความซื่อสัตย์ นักเรียนทำตามข้อตกลงของกลุ่ม ตรงต่อเวลาและหน้าที่รับผิดชอบ รู้จักละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด 4) ด้านความมีวินัย นักเรียนแต่งกายเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของโรงเรียน 5) ด้านความสุภาพ นักเรียนมีความประพฤติและกิริยามารยาทเรียบร้อย 6) ด้านความสะอาด นักเรียนมีสุขนิสัยในการรักษาความสะอาด ความปลอดภัย ฝึกฝนขัดเกลาจิตใจมิให้ขุ่นมัว 7) ด้านความสามัคคี นักเรียนช่วยเหลืองานส่วนรวมทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 8) ด้านความมีน้ำใจ นักเรียนรู้จักแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่น เสียสละเวลาร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
References
กนกพร เพ็ชรพงศ์ และคณะ. คุณธรรมพื้นฐาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.grad.nu.ac. [22 เมษายน 2566].
จรัล ถาวร. (2529). พฤติกรรมนักเรียนที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทร์จิรา โกมุท. (2560). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณลักษณะเด็กไทย ในประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ฐาปณีย์ จำปา. (2555). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนวัดทางกระบือ (เอื้อดีวิทยาคาร). นครนายก: โรงเรียนวัดทางกระบือ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระครูประทีปธรรมนาถ (ชุตินฺธโร). (2555). การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนคลองเจริญราษฎร์ อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุนธรณ์ ญาณสํวโณ (โสดามุข). (2558). สภาพคุณธรรมพื้นฐานนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนพยุห์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 (ศรีสะเกษ). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เทียมฝ่าการพิมพ์.
วิภาพร ทุนาบาล. (2560). การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมขั้นพื้นฐานของนักเรียน โรงเรียนเจ้าพระยาวิทยาคม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. ข้อมูลบุคลากรในเขตอำเภอหนองบัว. แหล่งที่มา: [ออนไลน์]. https://nsw3.go.th. [15 กรกฎาคม 2565].
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). คู่มือครูเพื่อพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Cronbach. Lee J. (1971). Essentials of psychological testing. 4th ed. New York : Harper & Row.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.