แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคกลาง เขต ๒

ผู้แต่ง

  • ลัลณา พวงสมบัติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อานนท์ เมธีวรฉัตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระราขวชิรเมธี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารการจัดการเรียนรู้, โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา, ภาคกลาง เขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคกลาง เขต 2 1) เสนอแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคกลาง เขต 1 ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู 956 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคกลาง เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.33, S.D.=0.44) และพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสุงสุด คือ ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านครูผู้สอน  (=4.36, S.D.=0.47) รองลงมา คือ ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ (=4.35, S.D.=0.49) และด้านการวัดและประเมินผล (=4.33, S.D.=0.48) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ (=3.95, S.D.=0.55) แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคกลาง เขต 2 โดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 มาเป็นกรอบแนวทางในการบริหารการจัดการเรียนรู้ 5 ด้านได้แก่ 1) ด้านครูผู้สอน พบว่า ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ ประกอบด้วย 3 แนวทาง 2) ด้านหลักสูตร พบว่า ผู้บริหารแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในด้านการบริหารหลักสูตร ประกอบด้วย 3 แนวทาง 3) ด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผู้บริหารจัดทำแผนการบริหารไว้อย่างเป็นระบบมีทิศทางยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 4 แนวทาง 4) ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ พบว่า ผู้บริหารวางแผนให้บุคลากรทางวิชาการได้พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 แนวทาง 5) ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ผู้บริหารยึดหลักความเป็นธรรม และพัฒนาปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 3 แนวทาง

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2552). การออกแบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปกร.

นิยม รัชตะวัฒน์วินัย. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บวร ปุยุติ. (2561). การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีรัตนาภิรัต (ปิยนันท์ ปิยจิตฺโต). (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช.

พระครูสังฆรักษ์วินัย ปาสาทิโก (วงษ์สุเทพ). (2556). การจัดการเรียนการสอนของครูสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: Statutes/NationalEducation.pdf [24 มีนาคม 2565].

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2543). การพัฒนาการเรียนการสอนทางอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอุดมศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส. ศิวรักษ์. (2545). ปรัชญาการศึกษาศาสตร์และศิลป์แห่งการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2553). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สํานักงานกลุ่มสมาคมโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา. (2560). ข้อมูลและกิจกรรมกลุ่มและสมาคมโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: ข้อมูลกลุ่มฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. รายงานผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. niets.or.th/th/catalog/view/280. [24 มกราคม 2565].

Bruner. (1996). The culture of education.Cambridge MA: Harvard University Press.

Hills. (1982). Dictionary of education. London: Routledge & Kegan Payi.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023