ศึกษาแนวคิดปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • เมธา หริมเทพาธิป หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พิบูล ชัชวานิชย์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปฏิจจสมุปบาท, พุทธปรัชญา, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาท วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เข้าใจความเป็นจริงของโลกและชีวิตเพื่อเป็นพื้นฐานต่อการดำเนินสู่ความดับทุกข์ เข้าใจกฎไตรลักษณ์ที่อยู่ในวงจรปฏิจจสมุปบาท การจะดำเนินไปสู่การดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้นั้นจำเป็นต้องดำเนินตามสายกลาง ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาทก็คือ ทางแห่งการดับทุกข์โดยสิ้นเชิง เป็นทางแห่งความไม่ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิอันสุดโต่ง หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นใน 3 ลักษณะ ดังนี้  1) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิอันสุดโต่ง ได้แก่ การหลุดพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ 2 ประการ คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ 2) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสถานที่และเวลา ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ในภพ (31 ภพภูมิ) และความยึดมั่นถือมั่นในสังขารที่ปรุงแต่งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ประการหนึ่ง และ 3) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

Author Biography

เมธา หริมเทพาธิป, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Ph.D. (Philosophy and Ethics)

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2556). บทความพิเศษ ปฏิจจสมุปบาท. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 20(1), 75-98. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jbscu/article /view/163019.

เทพพร มังธานี. (2564). อิทัปปัจจยตาทางจริยศาสตร์. วารสารปณิธาน. 17(1), 119-142. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/249797.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2555). ปฏิจจสมุปบาท : ขั้นตอนการรู้แจ้งความจริงของพระพุทธเจ้าและการปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาสังคม. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(3), 148-171. สืบค้นจาก https:// so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/240782.

พระครูวินัยธรสุวิจักขณ์ มหาปญฺโญ (อริยวงศ์ชัย). (2565). ศึกษาขันธ์ 5 ในมุมมองของพุทธทาสภิกขุ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 271-282. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php /mcjou/article/view/255405.

พระครูสุวรรณวิจิตร และจุฬารัตน์ วิชานาติ.(2563). ความดับทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 124-141. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmb /article/view/246224.

พระครูอุดมฐิติคุณ(อิทธิพล จำปาศรี). (2565). ปฎิจจสมุปบาท : ศาสตร์แห่งการใช้เหตุผลในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน. วารสารศึกษิตาลัย, 3(2), 15-28. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ/article/view/261519.

พระพรสุข ฐิตธมฺโม. (2558). ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนชีวิตตามทัศนะของจักรกลนิยม กับปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 6(2), 9-18. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/134965.

พระมหาปรีชา รตนโชโต และพระครูพิศาลสารบัณฑิต. (2565). ปฏิจจสมุปบาทกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 1111-1128. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org /index.php/mcjou/article/view/255515.

พระสาทิพย์ อนาลโย, พระปลัดสมชาย ปโยโค และพระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี. (2562). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับการบรรลุธรรม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 225-236. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/ article/view/191839.

ศุภกร เรืองวิชญกุล, พระราชปริยัติมุนี(เทียบ สิริญาโณ) และแม่ชีกฤษณา รักษาโฉม. (2564). ศึกษาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวของพุทธทาสภิกขุ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(3),26-38. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/248889.

สามเณรสมบูรณ์ สมพงษ์, ประสิทธิ์ ชาระ. (2563). เปรียบเทียบแนวคิดสุญตาของนาคารชุนกับพุทธทาสภิกขุ. วารสารปรัชญาอาศรม, 2(1), 25-36. สืบค้นจาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php /jpar/article/view/644.

เสฐียร ทั่งทองมะดัน และพระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ. (2562). ศึกษาปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 61-78. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmb/article/view/240248.

________, สานิตย์ ศรีนาค. (2563). การตีความคำสอนเรื่องอิทัปปัจจยตาในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 39-54. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmb/article/view/241758.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024