การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พหุระดับ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

สุขุม มูลเมือง

Abstract

การวัดภาวะผู้นำมักจะทำการวัดจากผู้ที่ทำงานภายใต้ผู้นำนั้น แทนที่จะวัดจากตัวผู้นำโดยตรงทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความลำเอียงในการวัด แต่การศึกษาเช่นนี้ก็ทำให้เกิดประชากรขึ้น 2 กลุ่มที่ลดหลั่นกันอยู่ 2 ระดับคือผู้ให้ข้อมูลเป็นระดับบุคคลและผู้ที่สนใจศึกษาซึ่งเป็นระดับกลุ่ม ทำให้ประชากรทั้ง 2 กลุ่มไม่เป็น อิสระต่อกันส่งผลให้ต้องใช้เทคนิคเฉพาะในการวิเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของข้อมูลเทคนิค ที่ว่านี้ก็คือเทคนิคการวิเคราะห์พหุระดับ ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาโมเดลการวัด ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยันพหุระดับ (MCFA) เพื่อศึกษาว่าการวิเคราะห์โมเดลการวัดดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการวิเคราะห์ดังกล่าวเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการวิเคราะห์โมเดลทางการศึกษา เช่น โมเดล การวัดภาวะผู้นำทางวิชาการ

 

Applying Multilevel Confi rmatory Factor analysis Techniques to the study of School’s Principal Academic Leadership.

To measure leadership, data normally collected from those working under the leaders themselves, in order to avoid the measurement bias. In effect, two hierarchical subpopulation occur, i.e., the individual and group levels. To cope with this population structure, an appropriate technique such as multilevel analysis technique is needed. The purpose of this study was to verify the appropriateness of the application of the Multilevel Confirmatory Factor (MCFA) in modeling the academic leadership of the primary school principals. The finding strongly supported the suitability of the model by the empirical data of both individual and group levels.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (academic article)