การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผู้นำชุมชน: ศึกษากรณีผู้นำชุมชนวัดปุรณาวาส

Main Article Content

ปราการ เกิดมีสุข

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการความรู้ในการพัฒนาผู้นำชุมชน: ศึกษากรณีผู้นำชุมชนวัดปุรณาวาส  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ชุมชนวัดปุรนณาวาส แขวงทวีวัฒนา  กรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกต ในการจัดการความรู้ด้วยกิจกรรมกลุ่ม และแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการในเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืนนั้นต้องใช้กิจกรรมกลุ่มลักษณะผู้นำ 3 แบบ เข้ามาช่วยคือ 1) ผู้นำการแลกเปลี่ยน  2) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง  3) ผู้นำจริยธรรม  ผลของการจัดการความรู้ด้วยกิจกรรมกลุ่มระบบการเรียนรู้ที่มีต่อผู้นำชุมชนว่าส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนวัดปุรณวาส  อันดับแรก คือด้านผู้นำเกี่ยวการแลกเปลี่ยนมากที่สุด การนำเอาความรู้จากแหล่งชุมชนที่มีอยู่แล้วในตนเองของชุมชนมาเผยแพร่ให้กับชุมชนได้ปฏิบัติตนเอง(Tacit Knowledge) จนเกิดเป็นความรู้ รวมทั้ง การนำเอาความรู้หลักจากภายนอก (Explicit Knowledge ) มาเป็นตัวเสริมก่อให้เกิดความเข้าใจต่อสถานการณ์ของโลกปัจจุบันว่าจะต้องปรับตัวอย่างไรให้อยู่ ดี มีสุข และอยู่อย่างพอเพียงในสังคม  อันดับที่สอง ผู้นำต้องมีคุณธรรมจริยธรรม  เรียนรู้ตนเองอย่างไรให้เข้ากับสภาพของคนในชุมชนที่มีความต้องการ เช่น ต้องเป็นผู้เสียสละ ซื่อสัตย์  มีความอดทนสูง มีจิตสาธารณะไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคมีความ โปร่งใส ในการทำงาน  เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและอันดับสุดท้าย ผู้นำชุมชนควรปรับเปลี่ยน มีความสามารถที่จะชักจูงให้คนในชุมชนทำงานให้สำเร็จตามความต้องการเป็นพร้อมที่จะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องบังเกิดผลดี โดยต้องมีภาวะการใช้อำนาจบังคับ กำกับควบคุมให้คนในชุมชนเกิดพฤติกรรมที่บรรลุเป้าหมาย และต้องมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้นำชุมชนกับคนในชุมชนมีความเป็นกันเองเพื่อกระตุ้นจูงใจให้เกิดการมีส่วนร่วมหรือมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อการบรรลุเป้าหมายเช่นเดียวกัน

 

ABSTRACT

 

The objective of this research was to study the knowledge management for the community leaders development of Wat Puranawad.  The research was qualitative design which collected data from community of Wat Puranawad Thawi Watthana district of Bangkok. Using techniques of interview, observation, knowledge management with activity groups and a questionnaire to assess their satisfaction with the activity. The data were analyzed by qualitative research method.

The study concluded that knowledge management for community leaders to develop a strong and sustainable community requires a third group characterized as a leader. 1) Transactional Leadership 2) Transformational Leadership 3) Moral Leadership. The results of the knowledge management system with group learning with community leaders that contribute to the development of community leaders Wat Puranawad. First is the leader on the exchange's most adopting the knowledge of community resources that already exist in their community to spread the word to the community self-discharge (Tacit Knowledge) And the knowledge and application of core knowledge from. external (Explicit knowledge) is an extra cause to understand the circumstances of today's world that it must adapt to the well-being and self sufficient society. The two leaders have a moral self-learning how to conditions of people in the community who have needs as well. Those who have a high tolerance, sacrifice, honesty. Public Mind unflinching obstacle to transparency in the work of the ethics. And finally Community leaders should change The ability to convince people of the community to accomplish the requirements are ready to treat them correctly done well. The conditions require the use of force. The control room of the community behavior goals. And must have a good relationship between the community leaders and the community are very friendly incentives to encourage the participation or desirable behavior. In order to achieve the same.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)