ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล กรณีศึกษา บุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ปารณีย์ ทองยอดเกรื่อง

Abstract

บทคัดย่อ

 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร       2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติและประสบการณ์ในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการศึกษาเชิงพรรณา โดยใช้วิธีสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 240 ชุด เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

            ผลการศึกษา  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.8  มีอายุในช่วง 20-30 ปี และ 31-40 ปี ร้อยละ 46.3  มีระดับการศึกษาปริญญาตรี  ร้อยละ 63.3 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อยกว่า 4 ปี  ร้อยละ 58.3  และมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลพบว่าบุคลากรที่มีสถานภาพสมรส  การศึกษา และรายได้ แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน แต่เพศ อายุ ประเภทการจ้างงานของบุคลากร แตกต่างกันไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับความผูกพันในองค์การในระดับปานกลาง (r=.479) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันในองค์การในระดับปานกลาง (r=.463)

 

 

ABSTRACT

 

The thesis research’ objectives were to study the levels of the organizational commitment of Golden  Jubilee Medical Center, Mahidol University’s Employees, to study and compare the differences between individual causes and the organizational commitment of the Employees , and to study the relationship between job performances , work experiences and the organizational commitment of the Employees. The research was a descriptive study by survey method, collected data from 240 sample groups. The tools for data collection were questionnaires. The statistics used for data analysis were percentage, mean and the analysis of variance (ANOVA) and Correlation Analysis.

The results revealed that the most of sample group were female, 75.8 percent aged 20-30 years old , 46.3 percent aged 31-40 years old. 63.3 Percent had bachelor’s degree diploma and 58.3 percent had worked for less than four years. The opinion on job performances , work experiences and the organizational commitment of most were moderate. From the differences between individual causes and the organizational commitment , they showed that marriage status, education, income affect different organizational commitment while sex, age, type of employment has no effect. Job performances associated with the organizational commitment in a moderate level
(r = .479). Also work experiences associated with the organizational commitment in a moderate level (r = .463).

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)