ยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่เขตบางแค

Main Article Content

ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง

Abstract

บทคัดย่อ

 

    การวิจัยเรื่อง “ยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่เขตบางแค” มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาลในพื้นเขตบางแค 
2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาลในพื้นเขตบางแค  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (questionnaires) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นอาศัยในเขตบางแค จำนวน 192,300 คน (สำนักงานเขตบางแค.พฤศจิกายน, 2558) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นอาศัยในเขตบางแค ได้มาโดยใช้จำนวนตามตารางสุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) จำนวน 400 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (Mean),  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard  deviation) , ค่า T-test , ค่า F-test  

ผลการศึกษาพบว่า

            1. ยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่เขตบางแคด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยภาพรวมอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.25 (S.D. = .637)  *คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยภาพรวมอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.25 (S.D. = .637)ด้านความรู้ความเข้าใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 (S.D. = .626)

            2. การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่เขตบางแค   พบว่า  ปัจจัยด้าน เพศ  อายุ  สถานภาพสมรส  ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาการพักอาศัย ที่แตกต่างมีผลต่อความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05

 

ABSTRACT

 

            The objectives of the study were twofold : 1) to investigate the participatory strategy for the prevention and suppression of crime in the area under the jurisdiction of Metropolitan Police Stations in Bangkae district area ; and2) to examine the factors conducive to the participatory strategy for the prevention and suppression of crime.  The study instrument was a set of self-administered questionnaires.  The population for the study was composed of all the residents living the Bangkae District area, totaling 192,300 people.  With the help of Krejcie and Morgan’s table, the researcher obtained 400 residents as the sample for the study.  The collected data were analyzed by dint of descriptive statistics (frequency, percentage, mean, standard deviation), a t-test and an F-test.

              The data analysis has brought to light the facts specified below.  With regard to the peoples’ opinions toward the participatory strategy for the prevention and suppression of crime in the area under the jurisdiction of Metropolitan Police Station in Bangkae district area, it was found that, holistically, the peoples’ knowledge as well as understanding of the participatory strategy was found to be at a high level (x = 4.17).  Holistically, the people’s participation level in the maintenance of life and property safety was found to be at a high level (x = 4.25%).

             Finally, the participation in the prevention and suppression of crime of the people with different backgrounds (sex, age, marital status, education, occupation, monthly income, and duration of living in the locality) differed in their levels of participation in the prevention and suppression of crime; the difference was statistically significant at the .05 level. 

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)