รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

Main Article Content

ศศิรดา แพงไทย

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ  1) องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2   2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2   3) ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2   โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2   ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบรูปแบบ  ขั้นตอนที่ 3  การตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ

ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2  147 โรงเรียน จำนวน 1840  คน  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 820 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ  0.989   มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง  0.60 – 1.00   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  การหาค่าความถี่(frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis)  การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (path analysis)  และการยืนยันรูปแบบโดยวิธีการชาติพันธุ์วรรณา (ethnographic future research :EFR)  ผลการวิจัยพบว่า

                1. องค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2   ประกอบด้วย  7  องค์ประกอบคือ  1) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้   2) การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน   3) การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา   4) การพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน  5) การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี   6) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ   7) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน

              2. ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกค่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าอยู่ระหว่าง .590 ถึง .908 โดยองค์ประกอบคู่ที่มีความสัมพันธ์สูงสุดคือ ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ .908  

            3. ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และใช้ประโยชน์ได้จริง สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

ABSTRACT

 

            The purposes of the research seemed to investigate (1) To study components of the approaches of academic administration of schools under Tak primary educational service area office 2 and (2) Study of the Opinions school administration and teacher for the approaches of academic administration of schools under Tak primary educational service area office 2. Research using Mixed Methods Research is bringing the science and qualitative research. and quantitative research.

The population, including school directors and teachers in schools under the Tak primary education service area office 2 district administrators, 147 school all 1840 people The samples of the research were 820 directors and teachers of schools under Tak primary educational service area office 2 Using simple random sampling. The data collection was based on questionnaires. (Rating Scale) with the reliability of 0.989 and IOC (Index of Item – Objective Congruence) of 0.60-1.00. The collected data were analyzed by the program computer. The findings of the research indicated that;

            1.  The components  approaches of academic administration of schools under Tak Primary Educational Service Area Office 2  contained 7 components  that is, 1) the development of learning process, 2) the development of learning abilities of students, 3) participating in education administration, 4) the development of the process of supervision, 5) the development of innovation and technology, 6) the development of the system of quality assurance, and 7) leadership in terms of teaching and learning.

            2.  The relationship of the elements of the academic administration of the schools under Tak Primary Education Service Area Office 2.  the correlation coefficient between the two elements are related statistically significant values. The correlation coefficient ranges from. 590 to. 908 by the couple whose relationship is highest. leadership in terms of teaching and learning and the development of learning abilities of students. Which is  equal to. 908

            3.The results confirm a form of academic administration of schools under Tak primary educational service area office 2 consists of seven elements exposed area is appropriate. Feasibility, accuracy and practical use. Consistent with empirical data

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)