การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ที่มีผลการเรียนต่ำ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดย สัมภาษณ์ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 15 ปี จำนวน 30 คนเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และ กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 15 ปีจำนวน 400 คน ซึ่งได้ทำการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มาจาก 4 ภาค ภาคละ 100 คน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยใช้แบบสอบถามชนิดปลายเปิด สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยและแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ได้แก่
1) ด้านผู้ปกครองนักเรียน 2) ด้านตัวนักเรียนเอง 3) ด้านครูผู้สอน 4) ด้านสังคม และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 5) ด้านเพื่อนของนักเรียน 6) ด้านเจตคติต่อการเรียนของนักเรียน
7) ด้านนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และ 8) ด้านการดำเนินงานการประกันคุณภาพของโรงเรียน
2. แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ ได้แก่ ผู้ปกครองต้องเข้มงวดและปลูกฝังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน โดยทำการบ้านและทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ ให้ความอบอุ่น ให้เวลาและสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งแนะนำให้คบเพื่อนที่ดี ครูต้องเป็นผู้เสียสละ มีจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู จัดกิจกรรมและใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบทเรียน อุทิศเวลาในการจัดเรียนการสอนให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่ โดยการนำเอาผลการเรียนการสอนที่ปฏิบัติจริงมาเป็นเกณฑ์การประเมินในการเพิ่มวิทยฐานะ และควรจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นสังคมที่น่าอยู่มีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างนักเรียนชั้นประถมทุกคนนอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการควรทบทวนนโยบายการทำโทษนักเรียนและการตกซ้ำชั้น ส่วนการดำเนินงานการประกันคุณภาพของโรงเรียน ควรมีบุคลากรทำหน้าที่ด้านนี้โดยเฉพาะเพื่อให้ครูได้มีเวลาในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่
ABSTRACT
The purpose of this research were to study the factors that affect academic achievement in primary students. And the development approach of student academic achievement in primary students at low grade. The sample used in this research were 400 teachers in primary schools, experienced in teaching more than 15 years by purposive sampling. Qualitative data collected by interviewed 30 teachers in primary schools, experienced in teaching more than 15 years. The instrument to collect the data by open end questionnaire that query the factors and the development approach of student academic achievement in primary students at low grade. To analyze the data by content analysis.
The results reveal that:
1. The factors that affect academic achievement in primary students. There were ; 1) The parents 2) Students themselves 3) Teachers 4) Social and school environments 5) Friends of students 6) Attitude toward learning 7) The policies of the Ministry of Education and 8) Operations quality assurance of school.
2. The development approach of student academic achievement in primary students at low grade should be; Parents have to instill in students a rigorous and positive attitude toward learning. By do homework and review lessons regularly. Should keep warm, timed and observed the changes closely. And guide how have good friends. Teachers must as the sacrifice, awareness and positive attitude toward the teachers. Activities and materials for teaching to suit the learning and lessons. The time devoted to teaching the students fully. The authentic of the teaching practiced the criterion of increased in academic standing. And should be in a social environment with harmonious. Mutual assistance among all elementary students. Also, the Ministry of Education should review the policies punish students and duplicate the classes. The implementation of school quality assurance should act in this particular personnel, there for teachers will have time to teaching fully.